Page 181 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 181

ผ-13






                           การแพร่ระบาด : สามารถแพร่กระจายไปได้ดีทางดิน เช่น  การเคลื่อนย้ายดินหรือวัสดุ

                  ที่เกี่ยวกับการเกษตร  การให้ความชื้นแก่ทานตะวันในลักษณะฉีดพ่น หรือนํ้าไหลที่รุนแรงเกินไป

                  จะทําให้โรคนี้ระบาดไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

                           สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค  :  เชื้อสาเหตุจะเจริญได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง

                           การป้ องกันและกําจัด
                           (1)หลังการเก็บเกี่ยวแล้วควรมีการไถกลบหน้าดินให้ลึกกว่า 6 นิ้ว เพื่อกลบเมล็ด sclerotia

                           (2) ปลูกพืชหมุนเวียนที่ทนทานต่อเชื้อราชนิดนี้ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง

                           (3) ปรับระยะปลูกทานตะวันให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดร่มเงาครึ้มตามบริเวณโคนต้น และ
                  ช่วยให้มีลมพัดผ่านระหว่างต้นพืช ซึ่งจะช่วยให้ผิวดินแห้ง ยากต่อการติดเชื้อ นอกจากนี้

                  หากทานตะวันต้นใดเป็นโรคแล้ว และมีระยะปลูกค่อนข้างห่างกัน โอกาสที่เชื้อจะแพร่กระจาย

                  ไปสู่ต้นอื่นยากขึ้น
                           (4) ใช้สารเคมี carboxin+thiram  75 เปอร์เซ็นต์ WP  หรือ chloroneb  65 เปอร์เซ็นต์ WP

                  หรือ PCNB75 เปอร์เซ็นต์ WP  อัตรา 2.5-5  กรัมต่อเมล็ด 1  กิโลกรัม คลุกเมล็ดก่อนปลูก เพื่อป้องกัน

                  การเข้าทําลายระยะต้นอ่อน หรือผสมนํ้าราดดินระยะต้นโต อัตรา 5-10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร


                  12.  สัตว์ศัตรูและการป้ องกันกําจัด (สมศักดิ์ และ ทรงพล, ม.ป.ป.)

                        1) หนอนเจาะสมอฝ้ าย

                           รูปร่างลักษณะ : ตัวหนอน ลําตัวมีสีเหลืองนวลมีแถบสีดําพาดตามความยาวลําตัว

                  และมีขนดูคล้ายหนามขึ้นตามลําตัวประปราย ระยะตัวหนอนประมาณ 14-20 วัน ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อ
                  กลางคืนขนาดกลาง ปีกคู่หน้าของผีเสื้อเพศเมียมีสีนํ้าตาลปนแดง ส่วนเพศผู้มีสีนํ้าตาลปนเขียว

                           ลักษณะการทําลาย : กัดกินบริเวณจานดอกมากกว่าส่วนของใบ โดยกัดกินกลีบดอก กลีบเลี้ยง

                  และเมล็ดทําให้ดอกไม่สวยงาม เพราะไม่มีกลีบดอกสีเหลืองในการช่วยดึงดูดแมลง เช่น ผึ้งมาผสมเกสร

                  ทําให้การติดเมล็ดลดลงและมีเมล็ดลีบมากขึ้น  นอกจากนั้นหนอนยังกัดกินส่วนของเมล็ดโดยตรง
                  ทําให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก

                           การป้ องกันกําจัด

                           (1)หลีกเลี่ยงการปลูกทานตะวันตามพืชที่เป็นอาหารของหนอนเจาะสมอฝ้าย เช่น ฝ้าย หรือ
                  ข้าวโพด หากจําเป็นต้องปลูกควรทําการไถกลบเศษซากพืชก่อนปลูก

                           (2)ควรตรวจดูแมลงศัตรูธรรมชาติหากพบว่ามีอยู่ในไร่ทานตะวันไม่ควรพ่นสารเคมีกําจัดแมลง

                           (3)เมื่อมีความจําเป็นควรฉีดพ่นด้วยสารเคมี ได้แก่ อิมาเม็กตินเบนโซเอต 1.92 เปอร์เซ็นต์
                  EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อนํ้า 20 ลิตร หรือลูเฟนนูรอน 5 เปอร์เซ็นต์ EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อนํ้า 20 ลิตร







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186