Page 184 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 184

ผ-16






                  วางซ้อนเรียงกันคล้ายเกล็ดปลา ผิวเรียบเป็นมัน) จํานวน 15 กลุ่มต่อ 100 ต้น ให้ฉีดพ่นด้วยสารกําจัดแมลง

                  sulprofos  deltametrin  cypermetrin  triflumuron  หรือ  teflubenzuron  อย่างใดอย่างหนึ่ง

                        5) หนอนผีเสื้อ

                           ลักษณะการทําลาย :  หนอนจะทําลายโดยชอนและเจาะเข้าไปในกิ่งก้าน  และเจาะทําลายหัว
                  ในระยะปลูก  สําหรับประเทศไทยแล้วยังไม่ประสบปัญหาในระยะปลูกมากนัก แต่จะระบาดรุนแรง

                  เจาะทําลายหัวมันฝรั่งช่วงเก็บรักษาในโรงเก็บ

                           การป้ องกันกําจัด

                           (1) ระยะปลูกในไร่ ไม่ควรพืชอาหารของแมลงชนิดนี้ต่อเนื่องกันตลอดปี ควรปลูกสลับกับ
                  พืชอื่น เช่น ข้าวโพดหรือข้าวฟ่าง ควรทําความสะอาดแปลงเก็บเศษพืช ทําการพูนโคนให้ดี และให้นํ้า

                  อย่างสมํ่าเสมอ

                           (2)ระยะเก็บรักษาในโรงเก็บ ตรวจตราและคัดแยกนําเอาเฉพาะที่ไม่มีการทําลายจากหนอน
                  ผีเสื้อ หรือแมลงชนิดอื่นๆ เข้าเก็บรักษา หากมีการระบาดในโรงเก็บ อาจใช้สารประเภทเชื้อแบคทีเรีย

                  สารเฟนรารีเลท สารเอทริมฟอสหรือสารคาร์โบซัลแฟน อย่างใดอย่างหนึ่งพ่นเดือนละ 1-2 ครั้ง

                        6) ไส้เดือนฝอยรากปม

                           ลักษณะการทําลาย :  ทานตะวันที่ถูกไส้เดือนฝอยเข้าทําลายจะแคระแกร็นและซีดเหลือง
                  หากเป็นมากพืชจะตาย โดยเฉพาะในช่วงอากาศแล้งจะพบพืชตายเนื่องจากการทําลายของศัตรูพืชชนิดนี้

                  มากกว่าปกติ บางครั้งแม้จะเป็นพืชที่เจริญอยู่ในไร่เดียวกัน แต่จะพบอาการรุนแรงในบางหย่อมเท่านั้น

                  ในขณะที่พืชบริเวณใกล้เคียงอาจจะไม่พบอาการเลยก็ได้ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่มักจะพบ
                  การระบาดกระจายออกไปทั่วทั้งพื้นที่ปลูก ลักษณะอาการของทานตะวันส่วนเหนือพื้นดินขึ้นมา

                  จะคล้ายคลึงกับอาการขาดธาตุอาหาร (ปุ๋ ย) หรือขาดนํ้าเข้าร่วมด้วยเสมอ เมื่อเกิดการระบาดรุนแรง

                  พืชจะเกิดการเหี่ยวในช่วงกลางวัน แต่พอกลางคืนพืชก็จะฟื้นและจะกลับไปเหี่ยวเหมือนเดิมอีกครั้ง

                  ตอนกลางวันของวันถัดไป สลับกันจนกว่าใบแก่หรือใบตอนล่างจะซีดเหลืองก่อนกําหนด
                  และที่บริเวณปลายหรือขอบใบจะเกิดอาการไหม้หรือเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล ในที่สุดทานตะวันก็จะตาย

                  แต่ถ้าถอนต้นทานตะวันที่แสดงอาการซีดเหลืองแคระแกร็นคล้ายกับอาการขาดธาตุอาหารดังกล่าว

                  ขึ้นมาตรวจสอบจะพบปุ่มปมผิดปกติ เกิดกระจายไปตามบริเวณรากเป็นจํานวนมาก ปุ่มปมเหล่านั้น
                  มีหลายขนาดแตกต่างกัน โดยที่ปุ่มปมขนาดเล็กมีไส้เดือนฝอยอยู่เพียงตัวเดียว ถ้าปมใหญ่มีไส้เดือนฝอย

                  เพศเมียอยู่หลายตัว รูปร่างของปุ่ มปมไม่สมํ่าเสมอ อาจจะปะปนกันไประหว่างรูปทรงกลม

                  หรือทรงหนําเลี๊ยบ ปุ่มปมเหล่านี้พบเรียงรายติดต่อกันคล้ายการร้อยลูกปัดไปตามรากขนอ่อนมาก
                  ที่สุด แทนที่จะเกิดบนรากแก้วหรือรากแขนง ซึ่งเป็นรากหลักที่สําคัญ ความผิดปกติที่ระบบราก

                  ทานตะวันนั้นไม่ใช่มีเฉพาะการเกิดปุ่มปมขึ้นมาเพียงอย่างเดียว แต่จํานวนรากที่ทําหน้าที่ดูดแร่ธาตุ






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189