Page 180 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 180

ผ-12






                           -  ก้านใบ ทําให้ก้านใบหักพับเสียหาย

                           -  ระยะออกดอก ทําให้กลีบดอกเกิดจุดแผลกลมเล็ก ฉํ่านํ้า สีนํ้าตาลเข้ม ซึ่งต่อมาแผล

                  จะขยายยาวเป็นรูปกระสวยทําให้กลีบดอกเน่าและร่วงก่อนกําหนด

                           -  ฐานรองดอก เกิดเป็นจุดแผลมีลักษณะทั้งค่อนข้างกลมและรี แผลจะบุ๋มลึกลงไป

                  ในเซลล์พืช ทําให้เกิดอาการเน่าสีนํ้าตาลเข้มไปทั้งจานดอก รวมทั้งเมล็ดจะเกิดเป็นโรคเมล็ดเน่า
                  หรือจานดอกเน่า (head rot)

                           การแพร่ระบาด : เชื้อสาเหตุของโรคสามารถแพร่กระจายโดยปลิวไปกับลม ทางดิน

                  และติดไปกับเมล็ด และเมื่อนําไปเพาะกล้า เชื้อสาเหตุของโรคนี้จะเจริญไปสู่พืชต้นใหม่ได้ดี
                           สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค : เชื้อสามารถเจริญได้ดีที่ช่วงอุณหภูมิค่อนข้างกว้าง

                  คือ ระหว่าง 4-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง 70-90 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นเหตุให้โรคนี้

                  ระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน โดยเชื้อจะเข้าทําลายพืชผ่านทางปากใบเป็นสําคัญ

                           การป้ องกันและกําจัด
                           (1)ตรวจสอบและคัดเลือกเฉพาะเมล็ดที่เก็บเกี่ยวมาจากต้นแม่พันธุ์ที่ไม่เป็ นโรค

                  เพื่อนําไปทําเมล็ดพันธุ์เท่านั้น

                           (2)คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมีก่อนปลูกทุกครั้ง เช่น captan iprodione imazalil  อัตราสาร
                  ออกฤทธิ์ประมาณ 0.2 เปอร์เซ็นต์ ต่อเมล็ดหนัก 1 กิโลกรัม

                           (3)หลีกเลี่ยงการให้นํ้าแบบพ่นฝอยกับพืช และอย่าปลูกให้แน่นเกินไป

                           (4)หากสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเกิดโรค ควรฉีดพ่นสารเคมีป้ องกันกําจัดเชื้อราทุก

                  7-20 วัน ควบคู่ไปด้วย สารเคมีที่ใช้ได้ผลดีในการควบคุมโรคใบและลําต้นไหม้อัลเทอร์นาเรีย
                  คือ  iprodione   imazalil  และ  mancozeb อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยในการใช้ให้ใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่ง

                  ใน 2 ชนิดแรกผสมกับ mancozeb  หรือแยกฉีดสลับกันไปแต่ละชนิด จะให้ผลดีมากที่สุดในการ

                  ลดความรุนแรงของโรค
                        2) โรคโคนหรือลําต้นเน่า

                           สาเหตุ  : Sclerotium rolfsii sacc.

                           ลักษณะอาการ : พบการเข้าทําลายตามบริเวณรากและโคนต้น โดยทําให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้น

                  เน่าแห้งเป็นสีดําและเนื้อเยื่อยุบตัวลง ใบเหลือง พืชแสดงอาการเหี่ยวก่อนที่จะตายไปทั้งต้น หากสังเกต
                  บริเวณโคนต้นจะมีเส้นใยสีขาวหยาบเจริญแทรกอยู่ระหว่างอณูของดิน  แล้วลุกลามไปจับตามราก

                  ขณะเดียวกันจะมีเม็ด sclerotia  สีขาวปนนํ้าตาล  เมล็ดเล็กๆ ซึ่งราสาเหตุจะผลิตขึ้นปะปนอยู่กับเส้นใย

                  เหล่านั้น  เมื่อถอนต้นที่เป็นโรคขึ้นมารากจะหลุดแยกออกจากโคนต้น  และเห็นรอยเน่าลงไปถึงราก

                  ได้ชัดเจน





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185