Page 176 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 176

ผ-8







                  5.  สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (กรมส่งเสริมการเกษตร, ม.ป.ป.ก)

                        1)  ลักษณะดิน
                           ทานตะวันสามารถเจริญเติบโตในดินทุกประเภท เว้นแต่ในดินที่เป็นกรดจัดหรือในดินที่มี

                  สภาพนํ้าขัง เนื่องจากทานตะวันเป็นพืชที่มีระบบรากลึก ดังนั้นจึงควรมีการไถพรวนค่อนข้างลึก

                  ดินชั้นล่างต้องไม่แข็ง สภาวะความเป็นกรดเป็นด่างของดินประมาณ 5.7-8.0 และสามารถเจริญเติบโต
                  ได้ดี หรือดินที่มีหน้าดินลึก อุ้มนํ้าได้ดี หากปลูกในดินที่มีความชื้นตํ่า ผลผลิตของเมล็ดจะตํ่าลงมาก

                        2) สภาพภูมิอากาศ

                           ทานตะวันงอกได้ดีในอุณหภูมิ 8-10 องศาเซลเซียส และยังงอกได้ในอุณหภูมิตํ่าถึง 4 องศาเซลเซียส

                  ต้นอ่อนในช่วงใบเลี้ยงมีชีวิตอยู่ได้ -5 องศาเซลเซียส และทนต่อสภาพนํ้าค้างแข็งได้ ทานตะวันสะสม
                  นํ้าหนักแห้งได้อัตรา 28 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิในช่วง 18-33 องศาเซลเซียส มีความแตกต่างน้อยมาก

                  อุณหภูมิมีผลอย่างมากต่อระยะสังเคราะห์นํ้ามันของทานตะวัน ซึ่งในระยะนี้อุณหภูมิเฉลี่ยกลางวัน

                  ควรตํ่ากว่า 30 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามอัตราส่วนของอุณหภูมิตํ่าสูงสุดภายใน 24 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน
                  1:2 หากอุณหภูมิกลางวันสูงเกินกว่า 30 องศาเซลเซียส จะทําให้เปอร์เซ็นต์นํ้ามันลดลง 5 เปอร์เซ็นต์

                        3) นํ้าและความชื้น

                           ทานตะวันเป็นพืชที่ต้องการปริมาณนํ้าสูง และสามารถทนต่อความแห้งแล้งได้เป็นอย่างดี

                  และมีความสามารถในการดูดซึมนํ้าได้สูงกว่าพืชไร่อื่นๆ ถ้าดินมีความชื้นตํ่ากว่า 14 เปอร์เซ็นต์ จะทํา
                  ให้ทานตะวันเริ่มเหี่ยว ใบแห้งในระยะแรกของการเจริญเติบโตจนถึงระยะเริ่มมีตาดอก ทานตะวัน

                  สามารถทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดีกว่าระยะหลัง หากปริมาณนํ้าไม่เพียงพอในระยะดอกบานจนถึง

                  ช่วงสังเคราะห์นํ้ามันจะทําให้ผลผลิตลดลง หลังจากทานตะวันงอกแล้ว 20 วัน ต้องมีความชื้นสัมพัทธ์
                  40-74 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าความชื้นสัมพันธ์ตํ่ากว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ต้นทานตะวันจะต้องการนํ้าปริมาณมาก



                  6.  การปลูกทานตะวัน (ศรีสุดา, ม.ป.ป.)

                        1) การเตรียมพื้นที่ปลูก
                           ควรไถดินให้ลึกในระดับ  30  เซนติเมตรหรือลึกกว่านั้น  เพราะว่าเมื่อฝนตกดินจะสามารถ

                  รับนํ้าให้ซึมซับอยู่ในดินได้มากขึ้น  การไถดินลึกจะช่วยทําลายการอัดแน่นของดินในชั้นไถพรวน

                  ทําให้นํ้าซึมลงในดินชั้นล่างได้มากขึ้น ควรกําจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด และไถย่อยดินครั้งสุดท้าย

                  ให้ร่วนซุย  หากมีการใส่ปุ๋ ยคอกหรือปุ๋ ยหมักลงไปพร้อมกับการย่อยดินครั้งสุดท้ายจะช่วยเสริม
                  ธาตุอาหารต่างๆ เพื่อให้พืชนําไปใช้ประโยชน์












                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181