Page 179 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 179

ผ-11







                  9.  การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว (กรมวิชาการเกษตร, 2552)

                        1)  นําจานดอกที่เก็บเกี่ยวแล้วตากแดด 1-2 แดด บนลานซีเมนต์ หรือตากบนผืนผ้าใบและคลุมกอง
                  จานดอกทานตะวันด้วยผืนผ้าใบในเวลากลางคืน เพื่อป้องกันนํ้าค้าง

                        2)  กะเทาะเมล็ดจากจานดอก โดยใส่จานดอกในถุงผ้าหรือกระสอบ แล้วใช้ท่อนไม้ทุบหรือ

                  ใช้เครื่องนวดถั่วเหลืองที่ดัดแปลงแล้วความเร็วรอบ 200-350 รอบต่อนาที
                        3)  นําเมล็ดที่กะเทาะแล้วไปตากแดด 1-2 แดด เพื่อลดความชื้นในเมล็ดให้เหลือประมาณ 12-14

                  เปอร์เซ็นต์ แล้วทําความสะอาดเมล็ด

                        4)  บรรจุเมล็ดที่ได้ในกระสอบ
                        5)  ตัดแต่งปากกระสอบให้เรียบร้อยและเย็บปากกระสอบด้วยเชือกฟาง

                        6)  ควรวางกระสอบที่บรรจุเมล็ดทานตะวันในที่ร่มบนพื้นที่มีแผ่นไม้รอง


                  10.  การขนส่ง (กรมวิชาการเกษตร, 2552)

                        1)  ระหว่างการขนส่ง ไม่ควรให้เมล็ดทานตะวันถูกความชื้น

                        2)  รถบรรทุกต้องสะอาดและเหมาะสมกับปริมาณเมล็ดทานตะวัน

                        3)  ไม่ควรเป็นรถที่ใช้บรรทุกดิน สัตว์ มูลสัตว์ ปุ๋ ยเคมี หรือสารป้องกันกําจัดศัตรูพืช เพราะอาจ

                  มีการปนเปื้อน
                        4)  กรณีมีการขนส่งเมล็ดทานตะวันในช่วงฤดูฝน ต้องมีผ้าใบคลุมเพื่อป้องกันเมล็ดทานตะวัน

                  ถูกความชื้นและได้รับความเสียหาย


                  11.  โรคที่สําคัญและการป้ องกันกําจัด (สมศักดิ์ และ ทรงพล, ม.ป.ป.)

                        1) โรคใบและลําต้นไหม้อัลเทอร์นาเรีย

                           สาเหตุ  : เกิดจากเชื้อรา Alternaria spp. 3 ชนิดด้วยกัน คือ A. helianthi  A. zinniae  และ  A. alternata

                           ลักษณะอาการ :  อาการของโรคนี้เกิดได้เกือบทุกส่วนของทานตะวัน เช่น ใบ กิ่งก้าน ลําต้น

                  จานดอก กลีบเลี้ยง ฐานรองดอก และเมล็ด ซึ่งสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้
                           -  ใบ พบแผลสีนํ้าตาลเข้ม ถ้าพืชมีอายุน้อยจะพบบริเวณสีเหลือง (halo)  ล้อมรอบแผล

                  มักพบอาการที่บริเวณใบแก่ (ใบล่าง) มากกว่าใบอ่อน (ใบส่วนบน) ถ้าสภาพอากาศเหมาะสม เช่น ฝนตก

                  อากาศชื้น ทําให้แผลขยายใหญ่ไหม้ลุกลามติดกันทําให้ใบแห้งตาย
                           -  ลําต้น แผลที่ลําต้นมักจะบุ๋มลึกลงไปและทําให้ลําต้นเกิดรอยแตกแยกตรงกลางแผล

                  เหล่านั้น










                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184