Page 175 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 175

ผ-7






                        พันธุ์ที่นิยมปลูก (กรมวิชาการเกษตร, 2552)

                        1) พันธุ์สําหรับใช้สกัดนํ้ามัน

                           -  แปซิฟิ ก 33 เป็นพันธุ์ลูกผสมนําเข้าจากต่างประเทศ มีความสามารถในการผสมตัวเอง

                  เปอร์เซ็นต์ติดเมล็ด 96 เปอร์เซ็นต์ อายุดอกบาน 58 วัน อายุเก็บเกี่ยว 92 วัน เส้นผ่าศูนย์กลางจานดอก

                  13  เซนติเมตร ผลผลิต 218  กิโลกรัมต่อไร่  นํ้าหนัก 1,000  เมล็ด 49  กรัม เมล็ดสีดําลายเทา นํ้ามัน
                  ในเมล็ด 39 เปอร์เซ็นต์

                           - พันธุ์เชียงใหม่ 1  เป็นพันธุ์ผสมเปิด ที่พัฒนาขึ้นในประเทศ  เปอร์เซ็นต์ติดเมล็ด 90

                  เปอร์เซ็นต์ อายุดอกบาน 58 วัน อายุเก็บเกี่ยว 100 วัน เส้นผ่าศูนย์กลางจานดอก 15 เซนติเมตร ผลผลิต
                  203 กิโลกรัมต่อ นํ้าหนัก 1,000 เมล็ด 48 กรัม เมล็ดสีดํา นํ้ามันในเมล็ด 35 เปอร์เซ็นต์

                        2) พันธุ์สําหรับใช้ขบเคี้ยว

                           - พันธุ์แม่สาย  เป็นพันธุ์ผสมเปิด อายุดอกบาน 64 วัน อายุเก็บเกี่ยว 107 วัน ขนาดจานดอก

                  ค่อนข้างใหญ่  เส้นผ่าศูนย์กลาง 19  เซนติเมตร ให้ผลผลิตดีที่สุดในเขตภาคเหนือ 309  กิโลกรัมต่อไร่
                  มีขนาดเมล็ดค่อนข้างใหญ่ ขนาดเมล็ดหลังกะเทาะ กว้างxยาวxหนา ประมาณ 1.3x0.5x0.2 เซนติเมตร

                  นํ้าหนัก 1,000 เมล็ด 112 กรัม นํ้ามันในเมล็ดค่อนข้างตํ่า 33 เปอร์เซ็นต์


                  4.  ระยะการเจริญเติบโตของทานตะวัน (กรมส่งเสริมการเกษตร, ม.ป.ป.ก)

                        1)  ระยะสร้างใบ นับจากเริ่มงอกจนถึงใบจริง 4 คู่ ระยะนี้ต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

                  เพื่อให้มีการสังเคราะห์แสงได้เต็มที่

                        2) ระยะเริ่มออกดอก เริ่มจากใบจริงครบ 8 คู่ ระยะนี้หากได้รับอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม

                  จะทําให้มีเมล็ดต่อจานดอกมากที่สุด
                        3) ระยะสร้างตาดอก เริ่มจากใบ 9 คู่ จนกระทั่งติดดอก ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมก็จะเกิด

                  เมล็ดลีบบริเวณกลางดอก

                        4) ระยะดอกบาน ระยะนี้ต้องการความชื้นและแร่ธาตุอาหารมากที่สุด เป็นระยะที่มี
                  การเจริญเติบโตของลําต้นอย่างเต็มที่

                        5)  ระยะสร้างเมล็ดถึงระยะสิ้นสุดการเจริญเติบโต เริ่มจากมีการถ่ายละอองเกสรสิ้นสุด

                  เมื่อเมล็ดเจริญเติบโตเต็มที่ มีการสร้างนํ้ามันอย่างช้าๆ ระยะนี้พันธุ์เบาใช้เวลา 14 วัน และ 16 วัน สําหรับ

                  พันธุ์หนัก หากได้รับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะได้เมล็ดที่สมบูรณ์และมีขนาดใหญ่
                        6) ระยะเก็บเกี่ยว หลังจากการสร้างนํ้ามันแล้วจะมีการเพิ่มขนาดและนํ้ามันของเมล็ด

                  อัตราการสร้างของนํ้ามันค่อยๆ ลดลงจนถึงเมล็ดทานตะวันแก่เต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180