Page 172 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 172

ผ-4






                        ใบ เป็นใบเดี่ยวเกิดตรงกันข้าม การเรียงตัวของใบด้านล่างเป็นแบบตรงกันข้าม ใบด้านบนส่วนใหญ่

                  เรียงแบบสลับ รูปร่างของใบแตกต่างกันตามพันธุ์ สีของใบมีตั้งแต่สีเขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้ม

                  ในระยะที่เป็นต้นอ่อนบอบบาง เมื่อแก่จะเริ่มเปราะบางและหยาบ ขนาดใบเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ

                  10-30 เซนติเมตร ใบกว้างรูปไข่ ยอดเป็นมุมแหลม ขอบใบหยักมีขนทั้งหน้าและหลังใบ ใบที่เกิดออก
                  จากตายอดใหม่ๆ ก้านใบจะอยู่ในแนวตั้งจนกระทั่งมีความยาว 1 เซนติเมตร ปลายยอดค่อยๆ โค้งลง

                  จนเมื่อใบแก่แล้วก็จะโค้งลงเป็นรูปตัวยู การสร้างใบจะมีมากจนกระทั่งดอกบาน หลังจากนั้น

                  การสร้างใบจะลดลง ใบจะเริ่มร่วงเมื่อประมาณ 10-15 วัน ก่อนสิ้นสุดการเจริญเติบโตด้านการสร้าง
                  ลําต้น กิ่ง ใบ ใบจะมีการเคลื่อนไหวตามแสงอาทิตย์เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงก่อนออกดอก

                  แต่ความไวต่อแสงอาทิตย์จะลดลงเมื่อทานตะวันใกล้แก่

                        ดอก เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ มีลักษณะเป็นรูปจาน เกิดบนตายอดของต้นหลัก หรือของแขนง

                  ขนาดของฐานดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-75 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์ สภาพแวดล้อม ดอกมีลักษณะ
                  เป็นแบบช่อดอก ประกอบด้วยดอกย่อยเป็นจํานวนมาก ซึ่งเป็น 2 ชนิด คือ

                           1) ดอกย่อยที่อยู่รอบนอกจาน เป็นดอกไม่มีเพศ (เป็นหมัน) มีกลีบดอกสีเหลืองส้ม

                           2) ดอกย่อยที่อยู่ในจานดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรตัวผู้พร้อมที่จะผสมได้ก่อนเกสร
                  ตัวเมีย และสายพันธุ์ผสมเปิด ส่วนใหญ่ผสมตัวเองน้อยมาก สําหรับพันธุ์ที่ให้นํ้ามัน มีดอกย่อย

                  อยู่รวมกันเป็นกระจุก ตั้งแต่ 700-4,000 ดอก ส่วนพันธุ์อื่นอาจจะมีถึง 8,000 ดอก การบานของดอก

                  จะเริ่มจากวงนอกไปยังศูนย์กลางของดอก ดอกบนกิ่งแขนงจะมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่พันธุ์ที่ปลูกเพื่อ
                  การค้ามักจะเลือกต้นชนิดที่มีดอกเดี่ยว เพื่อความสมบูรณ์ของดอกและให้เมล็ดที่มีคุณภาพดี

                        เมล็ดหรือผล เป็นแบบไม่แตกเมื่อแก่ รูปร่างเหลี่ยมๆ ยาวรี ความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร

                  มีสีลายขาวดํา หรือสีดําแล้วแต่พันธุ์ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อใน ซึ่งเรียกว่า hull เมื่อเมล็ดสุกแก่ส่วนของดอก

                  ที่อยู่เหนือรังไข่จะสร้างเมล็ดที่มีขนาดใหญ่และมีนํ้าหนักมากอยู่รอบนอกของจานดอก ส่วนเมล็ดที่อยู่
                  ข้างในใกล้กึ่งกลางดอกมีขนาดเล็ก และนํ้าหนักเบา เปอร์เซ็นต์นํ้ามันในเมล็ดขึ้นอยู่กับพันธุ์ การดูแลรักษา

                  และตําแหน่งของเมล็ดบนจานดอก



                  2.  ประเภทของทานตะวัน (ศรีสุดา, ม.ป.ป.)
                        แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

                        2.1 เมล็ดใช้สกัดนํ้ามัน จะมีเมล็ดเล็ก สีดํา เปลือกเมล็ดบางให้นํ้ามันมาก

                           ขั้นตอนการผลิตนํ้ามันทานตะวัน แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ (ธวัชชัย, 2539)

                          1)  ขบวนการสกัดนํ้ามันทานตะวันดิบ เป็นการแยกนํ้ามันทานตะวันดิบจากเมล็ด
                          (1) การบีบนํ้ามันจากเมล็ดทานตะวัน







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177