Page 177 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 177

ผ-9






                        2) ระยะปลูกและเตรียมหลุม

                           ควรทําร่องสําหรับหยอดเมล็ดหรือชักร่อง ให้แต่ละร่องห่างกัน 70-75 เซนติเมตร และใช้ระยะ

                  ระหว่างหลุมในร่องห่างกัน 30-35 เซนติเมตร ส่วนดินมีความชื้นตํ่าควรใช้ระยะปลูกกว้างขึ้น การยกร่องนี้

                  เพื่อสะดวกในการให้นํ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกในฤดูแล้งที่ต้องการนํ้ามาก หรือการปลูกโดยใช้
                  เครื่องหยอดเมล็ดในระยะเดียวกัน

                        3) การเลือกพันธุ์ (กรมวิชาการเกษตร, 2552)

                           (1)ผลผลิตสูง คุณภาพดี และตรงตามความต้องการของตลาด

                           (2)ต้านทานต่อศัตรูพืช
                           (3)เจริญเติบโตดี เหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศที่ปลูก

                        4) ฤดูปลูก (ศรีสุดา, ม.ป.ป.)

                           ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกทานตะวันมี 2 ฤดู คือ
                           (1) ปลายฤดูฝน ปลูกตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงตุลาคม

                           (2) ฤดูแล้ง ปลูกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

                        5) วิธีการปลูก
                           หลังจากเตรียมดินแล้ว  ควรทําร่องสําหรับหยอดเมล็ด  โดยให้แต่ละร่องห่างกัน  70-75

                  เซนติเมตร  และให้หลุมปลูกในร่องห่างกัน  25-30 เซนติเมตร  หยอดหลุมละ  2  เมล็ด  แล้วกลบดิน

                  โดยให้เมล็ดอยู่ลึก 5-8 เซนติเมตร เมื่อพืชงอกได้ 10 วัน หรือมีใบจริง 2-4 คู่ ให้ถอนแยกเหลือไว้เฉพาะ

                  ต้นที่แข็งแรงเพียงหลุมละ  1  ต้น  และถ้าหากดินมีความชื้นตํ่าควรใช้ระยะปลูกกว้างขึ้น การยกร่องนี้
                  เพื่อเป็นการสะดวกในการให้นํ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกในฤดูแล้งที่ต้องการนํ้ามาก ส่วนการปลูก

                  ในฤดูฝน  ถ้าเป็นดินที่มีการระบายนํ้าดีก็ไม่จําเป็นต้องยกร่องและใช้ระยะปลูกเช่นเดียวกับยกร่อง

                  การปลูกวิธีนี้ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมจํานวน 0.7 กิโลกรัมต่อไร่ และปลูกตามระยะที่แนะนํานี้จะได้

                  จํานวนต้น 6,400-8,500 ต้นต่อไร่เซนติเมตร


                  7.  การปฏิบัติดูแลรักษา (ศรีสุดา, ม.ป.ป.)

                        1) การให้นํ้า

                           นํ้า  เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการผลิตทานตะวัน  หากความชื้นในดินมีน้อยจะทําให้
                  ผลผลิตลดลง จึงควรมีการให้นํ้าทานตะวันอย่างเหมาะสม ดังนี้

                           - ครั้งที่  1  หลังจากปลูกเสร็จแล้วรีบให้นํ้าทันที  หรือควรทําการปลูกทันทีหลังฝนตก

                  เพื่อใช้ความชื้นในดินให้เต็มที่โดยไม่ต้องรดนํ้า
                           - ครั้งที่ 2 ระยะมีใบจริง 2 คู่ หรือประมาณ 10-15 วัน หลังงอก







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182