Page 178 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 178

ผ-10






                           - ครั้งที่ 3 ระยะเริ่มมีตาดอก หรือประมาณ 30-35 วัน หลังงอก

                           - ครั้งที่ 4 ระยะดอกเริ่มบาน หรือประมาณ 50-55 วัน หลังงอก

                           - ครั้งที่ 5 ระยะกําลังติดเมล็ด หรือประมาณ 60-70 วัน หลังงอก
                           การให้นํ้าควรให้นํ้าอย่างเพียงพอให้ดินชุ่ม  แต่ไม่ต้องถึงกับแฉะและนํ้าขัง การให้นํ้า

                  ควรคํานึงถึงความชุ่มชื้นในดินด้วย  ไม่ควรปล่อยให้ดินแห้งมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแรก

                  ของการเจริญเติบโตจนถึงระยะติดเมล็ด

                        2)  การให้ปุ ๋ ย
                           ทานตะวันเป็นพืชที่ให้โปรตีนและแร่ธาตุสูง   จึงควรใส่ปุ๋ ยในปริมาณที่พืชต้องการ

                  ตามสภาพดินที่ปลูก  สําหรับปุ๋ ยเคมีที่เหมาะสมตามคําแนะนํา  คือ  สูตร  15-15-15  หรือ  16-16-8

                  อัตรา  30-50  กิโลกรัมต่อไร่  โดยใส่รองพื้นพร้อมปลูก  และใช้ปุ๋ ยยูเรีย  อัตรา  20-30  กิโลกรัมต่อไร่

                  เมื่อทานตะวันอายุได้  30  วัน  หรือมีใบจริง  6-7  คู่  ซึ่งเป็นระยะกําลังจะออกดอก  หากมีการตรวจ
                  วิเคราะห์ดินก่อนปลูก  จะช่วยให้การใช้ปุ๋ ยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในกรณีที่เป็นดินทราย ขาดธาตุโบรอน

                  ควรใส่ผงโบแรกซ์ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อไร่ จะทําให้ผลผลิตทานตะวันเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพดี

                        3)  การป้ องกันและกําจัดวัชพืช
                           (1) เมื่อทานตะวันมีใบจริง 2-4 คู่ ซึ่งการทํารุ่นครั้งแรกนี้ ทําพร้อมกับการถอนแยกต้นพืช

                  ให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม เป็นการสะดวกสําหรับเกษตรกรในการปฏิบัติ

                           (2) ทําพร้อมกับการใส่ปุ๋ ยครั้งที่สอง เมื่อทานตะวันมีใบจริง 6-7 คู่ ทํารุ่นพร้อมกับใส่ปุ๋ ย
                  และพูนโคนต้นไปด้วย ในแปลงที่มีปัญหาวัชพืชขึ้นรบกวน ควรทําการกําจัดวัชพืชเพื่อป้ องกัน

                  การแย่งอาหารและความชื้นในดินตั้งแต่ต้นยังเล็ก ใช้สารเคมีคุมกําเนิดพวกอะลาคลอร์และเมโธลาคลอร์

                  ฉีดพ่นหลังหยอดเมล็ดก่อนที่จะงอกในอัตรา 300-400 ซีซี ผสมนํ้า 4 ปิ๊บ สําหรับฉีดพ่นในเนื้อที่ปลูก

                  1 ไร่ โดยฉีดให้สมํ่าเสมอกันสามารถคุมการเกิดวัชพืชได้นานถึง 2 เดือน และควรใช้แรงงานคน สัตว์
                  หรือเครื่องทุ่นแรง ทํารุ่นได้ตามความจําเป็น

                           ข้อควรระวัง ห้ามใช้สารเคมีกําจัดวัชพืชอะทราซีนในทานตะวันโดยเด็ดขาด



                  8.  วิธีการเก็บเกี่ยว (ศรีสุดา, ม.ป.ป.)
                        ทานตะวันจะมีอายุการเก็บเกี่ยวแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก (พันธุ์ลูกผสม อายุเก็บเกี่ยว

                  90-100 วัน) วิธีการเก็บเกี่ยวนั้นให้สังเกตจากด้านหลังของจานดอกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ซึ่งเป็นช่วง

                  การสร้างนํ้ามันในเมล็ดเริ่มลดลง  และหยุดสร้างนํ้ามันเมื่อจานดอกเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลเริ่มเก็บเกี่ยวได้












                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183