Page 183 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 183

ผ-15






                           ลักษณะการทําลาย :  ถ้าเกิดระบาดในระยะต้นกล้าจะทําให้ต้นกล้าตายได้  แต่ถ้าระบาด

                  ในระยะที่พืชโตแล้วจนถึงระยะออกดอกจะทําให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง หนอนเมื่อฟัก

                  ออกจากไข่ใหม่ๆ จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยชักใยบางๆ คลุมตัวไว้แล้วกัดกินผิวใบ เมื่อหนอนโตขึ้น

                  จึงกระจายตัวกันออกไปเพื่อหาม้วนใบพืช หรือชักใยดึงเอาหลายๆ  ใบมาห่อรวมกัน แล้วอาศัยกิน
                  อยู่ในใบที่ม้วนนั้นจนเหลือแต่เส้นใบ เสร็จแล้วหนอนก็จะเคลื่อนย้ายไปม้วนใบอื่นต่อไป นอกจากนั้น

                  ยังทําลายตากิ่งหรือตาดอกอีกด้วย

                           การป้ องกันกําจัด

                           (1)เนื่องจากหนอนอาศัยกัดกินใบที่ม้วน ดังนั้นถ้าพบเห็นลักษณะการทําลายดังกล่าว และ
                  มีปริมาณไม่มากนักให้ทําลายเสีย

                           (2)หากพบเห็นการทําลายมากจําเป็นต้องใช้สารเคมี ให้ใช้สารเคมีแลมบ์ดาไซฮาโลทริน

                  2.5 เปอร์เซ็นต์ EC  อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อนํ้า 20 ลิตร หรือไตรอะโซฟอส 40 เปอร์เซ็นต์ EC  อัตรา
                  40 มิลลิลิตรต่อนํ้า 20 ลิตร หรือคาร์โบซัลแฟน 20 เปอร์เซ็นต์ EC  อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อนํ้า 20 ลิตร

                  พ่นเมื่อใบถูกทําลาย 30 เปอร์เซ็นต์ ในระยะก่อนออกดอกจนถึงระยะฝักยังเขียวอยู่ หรือใบถูกทําลาย

                  60 เปอร์เซ็นต์ หลังดอกบาน 4 สัปดาห์
                        4)  หนอนเจาะลําต้นข้าวโพด

                           รูปร่างลักษณะ :  ตัวหนอน เมื่อฟักออกใหม่ๆ มีสีขาวนวลตลอดทั้งลําตัว หัวสีนํ้าตาลดํา

                  และเมื่อหนอนโตเต็มที่ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ลําตัวมีสีชมพูและมีจุดดําตามลําตัวชัดเจนขึ้น

                  ระยะหนอน 15-21 วัน จึงเข้าดักแด้ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกคู่แรกสีทองแดง กลางปีกมีจุดดําเล็ก
                  2 จุดอยู่ใกล้เคียงกัน ขอบปีกมีเส้นตัดตามขวางเป็นลายลูกคลื่นเห็นได้ชัดเจนเช่นเดียวกับโคนปีก ปีกคู่หลัง

                  สีอ่อนกว่าปีกคู่แรกและไม่มีรอยแต้มหรือลวดลาย

                           ลักษณะการทําลาย :  หนอนเจาะลําต้นข้าวโพดเจาะเข้าทําลายลําต้นทานตะวันตั้งแต่

                  ยังไม่ออกดอก ต้นหนึ่งๆ อาจถูกหนอนชนิดนี้เจาะทําลายตั้งแต่ 1-5 รูต่อต้น มีผลให้จานดอกเล็กลง
                  ในระยะออกดอกติดเมล็ดจะพบเข้าทําลายบริเวณใกล้ๆ กับจานดอกทําให้ก้านดอกหัก หรือเจาะทําลาย

                  ส่วนหลังของจานดอกโดยตรง ทําให้ดอกไม่ติดเมล็ดและจานดอกเน่าเสียหายมาก ผลผลิตลดลง

                           การป้ องกันกําจัด
                           (1)ทําลายเศษซากพืชอาหารของหนอนเจาะลําต้นข้าวโพดในไร่หลังการเก็บเกี่ยว เพื่อมิให้

                  เป็นแหล่งระบาดของแมลงศัตรูชนิดนี้ต่อไป

                           (2)ศัตรูธรรมชาติมีประสิทธิภาพในการควบคุมประชากรของหนอนเจาะลําต้นข้าวโพดนี้อยู่แล้ว
                  แต่ถ้าสํารวจพบกลุ่มไข่ของหนอนผีเสื้อชนิดนี้ (ซึ่งมีลักษณะเป็นกลุ่มๆ ละประมาณ 20-30  ฟอง









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188