Page 185 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 185

ผ-17






                  นํ้าและอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ จะลดลงด้วย และเมื่อรากไม่สามารถทําหน้าที่ให้สมบูรณ์ได้

                  ทานตะวันก็แสดงอาการขาดธาตุอาหารและเหี่ยว นอกจากนี้ยังพบอาการเน่าและตายก่อนกําหนด

                  ของเนื้อเยื่อปุ่มปมนั้นในช่วงต่อมา

                           การป้ องกันกําจัด
                           (1)ลดปริมาณการสะสมของแหล่งไส้เดือนฝอย หรือกําจัดให้หมดไปจากพื้นที่เป้ าหมาย

                  โดยการปลูกพืชหมุนเวียนสลับกันไป เช่น ปลูกธัญพืช พืชตระกูลหญ้าบางชนิด สลับกับทานตะวัน

                  จะช่วยลดการระบาดของไส้เดือนฝอยลงได้
                           (2)ใช้วิธีการปลูกพืชล่อ (trap crop) คือ

                          -  ปลูกพืชล่อพันธุ์อ่อนแอ ไส้เดือนฝอยจะเข้าทําลายพันธุ์ที่อ่อนแอ แล้วรีบไถกลบฝังลึก

                  ลงดินทันที อาจต้องไถกลบมากกว่าหนึ่งครั้ง ข้อควรระวัง คือ อย่าปล่อยให้พืชพันธุ์อ่อนแอนั้นเจริญ

                  อยู่นานเกินไป จะเป็นช่องทางให้ไส้เดือนฝอยรากปมขยายพันธุ์เป็นจํานวนมากขึ้น จนไม่สามารถ
                  กําจัดให้หมดไปจากพื้นที่เป้าหมายได้

                          -  ปลูกพืชที่เป็นพิษล่อให้ไส้เดือนฝอยเข้าทําลาย เมื่อไส้เดือนฝอยเข้าไปในราก

                  แล้วจะไม่สามารถเจริญต่อไปได้และตายในที่สุด พืชที่นิยมใช้ล่อ ได้แก่ ดาวเรือง เป็นต้น
                          -  ใช้สารเคมีชนิดเม็ด เช่น furadan    ใส่ลงไปในหลุมพร้อมกับหยอดเมล็ดปลูกพืช

                  นอกจากช่วยป้ องกันการเกิดรากปมแล้ว ยังป้ องกันการทําลายของแมลงบางชนิดได้ด้วย แต่การใช้

                  สารเคมีชนิดนี้ต้องระวังเพราะมีความเป็นพิษและผลตกค้างค่อนข้างนาน
                        7)  หนู

                           ลักษณะการทําลาย :  ปกติหนูจะออกหากินในเวลากลางคืน แต่สามารถพิสูจน์การทําลาย

                  ของหนูได้โดยสังเกตจากต้นทานตะวันที่หักโค่นล้ม เนื่องจากถูกหนูกัดกินบริเวณโคนต้น หรือสังเกต

                  จากมูลขับถ่ายของหนูบริเวณที่มีหนูอาศัยอยู่และบริเวณที่หนูกินอาหาร เป็นต้น

                           การป้ องกันกําจัด
                           (1) การป้ องกันกําจัดโดยไม่ใช้สารเคมี เช่น การใช้กับดักหนูหรือกรงดักหนู การขุดจับหนู

                  การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติที่คอยจับหนูกินเป็นอาหาร ได้แก่ งูชนิดต่างๆ พังพอน นกเค้าแมวและนกแสก

                  เป็นต้น
                           (2)การใช้เหยื่อพิษ หากสํารวจพบว่า มีหนูอาศัยอยู่มากพอที่จะทําความเสียหายแก่ผลผลิตได้

                  ควรเริ่มใช้เหยื่อพิษประเภทออกฤทธิ์เร็ว เช่น ซิงค์ฟอสไฟต์ 1  เปอร์เซนต์ โดยวางเหยื่อพิษเป็นจุดๆ

                  จะช่วยลดประชากรหนูลงได้มาก หลังจากนั้นให้ใช้เหยื่อพิษชนิดออกฤทธิ์ช้าชนิดสําเร็จรูป เช่น คลีแร็ต
                  สะตอร์ม หรือเส็ต ซึ่งทําเป็นก้อนขี้ผึ้งก้อนละประมาณ 3-5  กรัม นําไปวางตามร่องรอยของหนูที่พบ

                  หรือบริเวณที่มีหญ้าปกคลุมอยู่






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189