Page 174 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 174

ผ-6






                          (3) การดูดกลิ่น

                             นํ้ามันจะผ่านเข้าตัวดูดอากาศเพื่อดูดอากาศที่ติดมาออก จากนั้นจะผ่านเข้าเครื่อง

                  แลกเปลี่ยนความร้อนเพื่อรับความร้อนจากนํ้ามันที่ดูดกลิ่น ซึ่งจะทําให้นํ้ามันร้อนขึ้นถึง 260 องศาเซลเซียส
                  นํ้ามันที่ร้อนนี้จะผ่านเข้าไปยังท่อดูดกลิ่น แล้วผ่านไปยังถังดูดกลิ่น

                          (4) การแยกไข

                             นํ้ามันที่ผ่านการดูดกลิ่น จะถูกส่งเข้าถังจับไข ถังจับไขจะมีนํ้าเย็นที่ได้จากเครื่อง

                  ทําให้นํ้าเย็นหล่ออยู่ที่ผิวเพื่อให้ความเย็นกับนํ้ามันและมีใบปาดผิวถัง ทําให้ไขจับตัวเมื่อได้รับความเย็น
                  นํ้ามันจะอยู่ในถังจับไขประมาณ 24 ชั่วโมง แล้วนํ้ามันจึงผ่านเข้าไปยังเครื่องกรองไข เครื่องกรองไข

                  จะกรองไขออกโดยใช้ผ้ากรองแยก และใช้แรงอัดนํ้ามันให้ผ่านผ้ากรองโดยความสูงของระดับนํ้ามัน

                  ในถังจับไข นํ้ามันที่กรองแล้วจะถูกส่งเข้าถังเก็บนํ้ามันเพื่อรอบรรจุต่อไป

                             เมื่อไขเต็มเครื่องกรองไขนํ้าร้อน จะถูกเปิดผ่านเข้าไปเพื่อให้ไขหลอมเหลว
                  ออกมา และถูกส่งไปยังถังเก็บไขต่อไป

                          (5) การบรรจุ

                             การบรรจุจะใช้เครื่องบรรจุอัตโนมัติ และจัดส่งออกไปจําหน่ายต่อไป
                        2.2 เมล็ดใช้รับประทาน จะมีเมล็ดโตกว่าพวกแรก เปลือกหนาไม่ติดกับเนื้อในเมล็ด

                  เพื่อสะดวกในการกะเทาะแล้วใช้เนื้อในรับประทาน โดยอบหรือปรุงแต่งขนมหวาน หรือทําเป็นแป้ ง

                  ประกอบอาหาร หรือใช้เมล็ดคั่วกับเกลือแล้วแทะเปลือกออกรับประทานเนื้อข้างในเป็นอาหารว่าง
                  เช่นเดียวกับเมล็ดแตงโม

                        2.3เมล็ดใช้เลี้ยงนก ใช้เมล็ดเป็นอาหารเลี้ยงนกหรือไก่โดยตรง



                  3.  พันธุ์ทานตะวัน (กรมส่งเสริมการเกษตร, ม.ป.ป.ก)

                        1) สายพันธุ์ผสมเปิด ซึ่งเป็นสายพันธุ์เดิมที่ใช้ปลูก ซึ่งในดอกจะมีจํานวนเรณูที่ติดอยู่กับก้าน
                  ชูเกสรตัวเมียน้อย ทําให้เกิดการติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองตํ่า ต้องอาศัยแมลงช่วยในการผสมเกสร

                        2) สายพันธุ์ลูกผสม ปัจจุบันมีพันธุ์ลูกผสมที่สามารถติดเมล็ดได้ดี โดยไม่ต้องอาศัยแมลง

                  ช่วยผสมเกสร เพราะในดอกมีละอองเรณูที่ก้านชูเกสรตัวเมียมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด 3-4 เท่า จึงทําให้

                  การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองดีกว่าพันธุ์ผสมเปิด นอกจากนี้พันธุ์ลูกผสมมีลักษณะของจานดอก
                  ค่อนข้างใหญ่กลีบดอกสีเหลืองสดใส ให้ปริมาณนํ้ามันสูง

                        3) สายพันธุ์สังเคราะห์ กําลังดําเนินการวิจัย โดยกรมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

                  และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179