Page 171 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 171

ภาคผนวกที่ 1

                                    ความรู้และการจัดการทั่วไปเกี่ยวกับทานตะวัน



                        ทานตะวัน (sunflower) เป็นพืชที่ทนทานต่ออากาศร้อนและแห้งแล้งได้ดีกว่าถั่วเหลือง แต่น้อยกว่า
                  ข้าวฟ่ าง ตอบสนองต่อสภาพแดดจัด ต้องการปริมาณนํ้าฝนปานกลาง ความชื้นในอากาศตํ่า

                  และเจริญเติบโตได้ดีในดินหลายประเภท
                        สําหรับประเทศไทยทานตะวันสามารถปลูกได้ดีทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                  และภาคกลาง ในปัจจุบันทานตะวันเป็นพืชเสริมรายได้ สามารถปลูกจําหน่ายในรูปเมล็ด เพื่อใช้ใน

                  อุตสาหกรรมนํ้ามัน โดยปลูกเป็นพืชครั้งที่ 2 หลังจากเกษตรกรปลูกพืชหลักแล้ว


                  1.  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (กรมส่งเสริมการเกษตร, ม.ป.ป.ก)

                        ทานตะวันมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Helianthus annuus. เป็นพืชตระกูลเดียวกับคําฝอย เบญจมาศ
                  และดาวเรือง อายุประมาณ 100-120 วัน ขึ้นกับสภาพแวดล้อม เป็นพืชล้มลุกที่ปลูกกันมาก

                  ในเขตอบอุ่น การเจริญเติบโตของทานตะวันในระยะแรกช่อดอกและใบจะหันไปตามทางทิศของ
                  ดวงอาทิตย์ โดยหันไปทางทิศตะวันออกในตอนเช้า และทิศตะวันตกในตอนเย็น แต่จะหันน้อยลงเรื่อยๆ

                  หลังมีการผสมเกสรแล้ว ไปจนกระทั่งช่วงดอกแก่จะหันไปทิศตะวันออกเสมอ เป็นการเพิ่ม

                  ประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสง การเคลื่อนไหวนี้จะหยุดลงเมื่อระยะดอกบาน โดยดอกจะหันไปทาง
                  ทิศตะวันออกเฉียงเหนือสําหรับประเทศไทยที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร แต่พื้นที่ที่อยู่ทางซีกโลกใต้ดอกจะหัน

                  ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
                        ราก มีระบบรากลึกและเป็นระบบรากแก้ว มีรากแขนงแตกมาจากรากแก้วมีประสิทธิภาพ

                  ในการดูดนํ้ามากที่สุด ในการเจริญเติบโตระยะแรก การเจริญเติบโตของรากจะเร็วกว่าส่วนของลําต้น
                  จนกระทั่งถึงระยะที่มีใบ 4-5 คู่ รากแก้วสามารถหยั่งลึกถึง 60-70 เซนติเมตร การเจริญเติบโตของราก

                  จะสูงสุดระยะดอกบาน โดยทั่วไปความยาวของรากแก้วจะมากกว่าความสูงของลําต้น

                  การเจริญเติบโตของรากทานตะวันขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ และสภาพดิน รากจะเจริญเติบโตลงไปลึก
                  ในสภาพดินแห้งแล้งดีกว่าดินชุ่มชื้น จากสภาพที่รากแขนงแผ่กระจายได้ด้านข้างถึง 120 เซนติเมตร

                  และรากแก้วมีความยาวถึง 300 เซนติเมตร ทําให้ทานตะวันจัดเป็นพืชทนแล้ง เพราะสามารถดูดนํ้า
                  ในชั้นดินที่ลึกได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น

                        ลําต้น ตั้งตรงแข็งแรง มีความสูงตั้งแต่ 80-220 เซนติเมตร บางพันธุ์อาจสูง 500 เซนติเมตร ในระยะแรก
                  ลําต้นจะเจริญเติบโตช้า เมื่อมีใบจริง 2-3 คู่แรกจะมีความสูงของลําต้น ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์

                  ของความสูงเต็มที่ และเมื่อดอกบานจะมีความสูง 95 เปอร์เซ็นต์ของความสูงทั้งหมด ระยะแรกลําต้น

                  จะอวบนํ้า เปราะหักง่ายแต่จะค่อยแข็งแรงตามลําดับ ส่วยปลายของลําต้นเป็นที่อยู่ของดอก







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176