Page 73 - longan
P. 73

3-35




                  ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น จากการเข้าถึงและการจัดสรรการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เป็น

                  ธรรม รวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มสูงขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและชุมชนเมือง ส่งผลกระทบ
                  ต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน และต้นทุนทางเศรษฐกิจในขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ
                  ภัยพิบัติทางธรรมชาติมีความผันผวนและรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะอุทกภัยและภัยแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบ

                  ต่อภาคเศรษฐกิจและห่วงโซ่การผลิตภายในประเทศ และข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการ
                  เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทวีความเข้มข้นท าให้ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมรับภาระในการลด
                  การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้กระแสการแข่งขันทางการค้า ขณะที่วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก
                  หลัง ค.ศ. 2015 ซึ่งเป็นการก าหนดทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกในอีก 15 ปี ข้างหน้า (ค.ศ. 2016-
                  2030) จะส่งผลกระทบต่อแนวทางการพัฒนาประเทศในอนาคต ดังนั้นประเด็นท้าทายที่ต้องเร่ง

                  ด าเนินการในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ได้แก่ การสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและ
                  ยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของ
                  ประชาชน เร่งแก้ไขปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อมเพื่อลดมลพิษที่เกิดจากการผลิต และการบริโภค พัฒนา

                  ระบบบริหารจัดการที่โปร่งใสเป็นธรรม ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นวง
                  กว้างมากขึ้น ต้องเร่งเตรียมความพร้อมในลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มขีดความสามารถในการ
                  ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติทาง
                  ธรรมชาติ

                              สนับสนุนการผลิตภาคการเกษตรไปสู่เกษตรกรรมที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนการปรับเปลี่ยน
                  กระบวนการผลิตจากพืชเชิงเดี่ยวไปสู่เกษตรกรรมยั่งยืน อาทิ เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตร
                  อินทรีย์ วนเกษตร และเกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ การใช้วัสดุอินทรีย์และการใช้
                  ผลิตภัณฑ์ชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมีการเกษตร เช่น การท าเกษตรโดยลดการใช้สารเคมีที่อ าเภอ

                  ด าเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี สนับสนุนงานวิจัยและจัดท าพื้นที่ต้นแบบ เพื่อสาธิตการปรับเปลี่ยน
                  กระบวนการผลิต ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จัดให้มีแหล่งทุนและกลไกทางการตลาด เพื่อสร้างแรงจูงใจ
                  ในการปรับรูปแบบการท าการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานและ
                  การตรวจสอบคุณภาพสินค้า เกษตรอินทรีย์สินค้าเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการ

                  พัฒนามาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าเกษตร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ตลอดจนศึกษา
                  ความเหมาะสมในการยกระดับมาตรฐาน สินค้าเกษตรเหล่านี้ให้เป็นมาตรการเชิงบังคับ ขยายผลแนวคิด
                  การท าเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนให้มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและผลักดันสู่

                  กระบวนการท าเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง
                        3.3.4 แผนพัฒนาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


                            กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีอ านาจหน้าที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรม การจัดหาแหล่งน้ าและ
                  พัฒนาระบบชลประทาน ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์ รวมตลอดทั้ง
                  กระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรม และราชการอื่นที่กฎหมายก าหนดให้เป็นอ านาจหน้าที่ของ
                  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีพันธกิจในการ
                            -  ส่งเสริมสถาบันเกษตรกร สนับสนุนเกษตรกรให้พึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี อาชีพ

                  มั่นคง





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย                                กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78