Page 68 - longan
P. 68

3-30




                                    - ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่เพื่อลดการ

                  พึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย
                  ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรประวันออก พร้อมทั้งรักษาส่วนแบ่งในตลาดหลักไม่ให้ลดลง ตลอดจน
                  การเตรียมความพร้อมในเชิงของทักษะเทคโนโลยีและวิทยาการที่จ าเป็นในการแข่งขันระดับโลกเพื่อการขยาย

                  ตัวอย่างยั่งยืนของประเทศในอนาคต และเป็นการส่งเสริมให้สินค้าและบริการของไทยเป็นที่รู้จักและ
                  ยอมรับอย่างแพร่หลายจากผู้บริโภคในประเทศต่าง ๆ
                                    - พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและ
                  บริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก ซึ่งพัฒนาจากแนวคิดระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่
                  ใช้นวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยค านึงถึงการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะขยายโอกาสในการส่งออก

                  ลดต้นทุนจากการพัฒนาระบบการกระจายสินค้าจากแหล่งผลิตท้องถิ่นไปสู่ตลาดในทุกระดับ โดยให้
                  ความส าคัญในการเชื่อมโยงให้ประเทศไทยเป็นประตูสู่ตลาดโลกของภูมิภาค รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริม
                  ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้า การบริการระหว่างประเทศ และศูนย์กลางการผลิตและส่งออกอาหาร

                  ฮาลาลในโลก
                                    - ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความ
                  ร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี โดยเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากความตกลงที่
                  มีผลบังคับใช้แล้ว พร้อมทั้งวางแนวทางป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้น ก าหนดมาตรการในการให้ความ

                  ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อ
                  เตรียมพร้อมในการพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ และมาตรฐานต่าง ๆ
                                  - เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความส าคัญ
                  ต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศ

                  เพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงด้านคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน
                            2) นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

                              นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นนโยบายส าคัญที่เกี่ยวข้องกับ
                  การเกษตรทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เน้นการดูแลทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก รวมไปถึง

                  การบรรเทาปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติต่อพืชผลในระยะยาว ดังนี้
                              -  อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โดยเร่งให้มีการปลูกป่าเพิ่มขึ้นควบคู่กับ
                  การป้องกันการลักลอบบุกรุกท าลายป่าไม้และสัตว์ป่า เร่งส ารวจและจัดท าแนวเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                  ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าแบบกลุ่มป่า ป่าชุมชน อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สนับสนุนการ
                  จัดการอย่างมีส่วนร่วม และให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันในลักษณะที่ท าให้คนมีภารกิจดูแลป่าให้มีความยั่งยืน

                  โดยการปรับปรุงกฎหมายป่าไม้ทั้ง 5 ฉบับ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ สร้างแรงจูงใจและส่งเสริมรายได้
                  จากการอนุรักษ์ป่าไม้ ฟื้นฟูป่าไม้ตามแนวประราชด าริ เพิ่มความชุ่มชื้นของป่า โดยฝายต้นน้ าล าธาร
                  ป้องกันไฟป่า ส่งเสริมการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพจากป่าและแบ่งปันผลประโยชน์

                  อย่างเป็นธรรม รวมทั้งน าระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดการทรัพยากรป่าไม้
                              -  สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ าในการใช้ประโยชน์ที่ดินและ
                  ทรัพยากรธรรมชาติ โดยการปฏิรูปการจัดการที่ดินให้มีการกระจายสิทธิที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
                  ด้วยการใช้มาตรการทางภาษีและจัดตั้งธนาคารที่ดินให้แก่คนจนและเกษตรกรรายย่อย พิจารณาให้




                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย                                กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73