Page 72 - longan
P. 72

3-34




                  เจ้าของในการพัฒนาการเกษตรของตน โดยภาครัฐสนับสนุนด้านปัจจัยพื้นฐานที่จ าเป็นและ เชื่อมโยง

                  การด าเนินการกับศูนย์เรียนรู้ต่าง ๆ ในพื้นที่ (2) ส่งเสริมขยายผลและพัฒนาการผลิตในระบบ
                  เกษตรกรรมยั่งยืน ทั้งในรูปแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ เกษตร
                  ธรรมชาติ รวมถึงการท าเกษตรกรรมตามหลักการปฎิบัติทางการเกษตรที่ดีโดยสนับสนุนบทบาท

                  เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านในการขับเคลื่อน และการปรับกลไกและโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรที่
                  จ าเป็นในการท าเกษตรกรรมยั่งยืน อาทิ การพัฒนาระบบข้อมูลเกษตรกรรมยั่งยืน การสร้างองค์ความรู้
                  การสนับสนุนเงินทุนในลักษณะสินเชื่อสีเขียวที่จูงใจการผลิตและการส่งเสริมการตลาด และ (3) ควบคุม
                  การใช้สารเคมีการเกษตรที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะสารเคมี
                  ก าจัดศัตรูพืช ส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพทดแทนสารเคมีการเกษตรให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง

                  ใช้สารเคมีการเกษตรอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการเพื่อลดผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
                  ตลอดจนก าหนดมาตรการทางการเงินการคลังในการก ากับดูแลการผลิต การน าเข้าและการใช้สารเคมี
                  การเกษตร

                              พัฒนาปัจจัยสนับสนุนในการบริหารจัดการภาคเกษตรและสนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ โดย
                  (1) พัฒนาฐานข้อมูลด้านอุปสงค์และอุปทานด้านการเกษตรให้มีความถูกต้อง แม่นย า เชื่อถือได้และ
                  สามารถน ามาใช้ประโยชน์ส าหรับการวางแผนด้านการเกษตรโดยใช้การตลาดน า รวมถึงการส่งเสริมให้
                  เกษตรกรสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึง และการพัฒนา ระบบ

                  เตือนภัยการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ (2) สร้างบุคลากรด้านการเกษตร โดยการผลิตเกษตรกร
                  รุ่นใหม่ หรือด าเนินนโยบายบัณฑิตคืนถิ่น การจัดท าหลักสูตรการศึกษาที่เน้นการเรียนรู้จากภาคปฏิบัติ
                  เพื่อสร้างเกษตรกรที่มีความรู้และมีความสามารถในการยกระดับการผลิต แปรรูป การตลาดและการ
                  บริหารจัดการที่สามารถปรับตัวได้ทันตามการเปลี่ยนแปลงของโลก การสนับสนุนการสร้างและการ

                  รวมกลุ่มเกษตรกรปราดเปรื่องให้เป็นผู้บริหารจัดการธุรกิจการเกษตรตั้งแต่ต้นน้ าถึงการแปรรูปและ
                  การตลาด และเปิดโอกาสให้บุตรของเกษตรกรที่มีพื้นที่ท าการเกษตร มีทัศนคติและความต้องการในการ
                  สานต่องานเกษตรกรรมเป็นล าดับแรก ตลอดจนการสร้างค่านิยมที่ดีและการสร้างความมั่นคงของ
                  เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร โดยเฉพาะการดูแลสวัสดิการชาวนา ควบคู่กับการสนับสนุนการเพิ่ม

                  รายได้จากอาชีพนอกภาคเกษตร รวมถึงการสร้างองค์ความรู้และเข้าถึงเครือข่ายพัฒนาความรู้ด้าน
                  เทคโนโลยีสารสนเทศและวางระบบบริหารจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยี
                  และ (3) ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรให้ทันสมัย เช่น กฎหมายด้านสารเคมี กฎหมายด้าน

                  สหกรณ์ กฎหมายด้านปฏิรูปที่ดิน กฎหมายด้านอาหาร และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้า
                  เกษตร เป็นต้น

                            2) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                              ปัจจุบันสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก าลังเป็นปัญหาและเป็นจุดอ่อนของการ
                  รักษาฐานการผลิตและให้บริการ รวมทั้งการด ารงชีพที่ยั่งยืน ฐานทรัพยากรธรรมชาติถูกน าไปใช้ในการ
                  พัฒนาจ านวนมากก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ป่าไม้ลดลง ทรัพยากรดินเสื่อมโทรม
                  ความหลากหลายทางชีวภาพถูกคุกคาม ทรัพยากรน้ ายังมีส่วนที่ไม่สามารถจัดสรรได้ตามความต้องการ

                  และมีความเสี่ยงในการขาดแคลนในอนาคต เกิดปัญหาความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย                                กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77