Page 70 - longan
P. 70

3-32




                  หนึ่งในการยกระดับรายได้ของประเทศให้เป็นประเทศทที่พัฒนาแล้ว โดยในแผนแม่บทภายใต้

                  ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการพัฒนาการเกษตรจะให้ความส าคัญกับการยกระดับการผลิตให้เข้าสู่คุณภาพ
                  มาตรฐานความปลอดภัย การใช้ประโยชน์จากความโดดเด่นและเอกลักษณ์ของสินค้าเกษตร รวมถึง
                  ความหลากหลายทางชีวภาพในแต่ละพื้นที่ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ในการผลิต

                  และการจัดการฟาร์ม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย 6 แผนย่อย ได้แก่ เกษตรอัต
                  ลักษณ์พื้นถิ่น เกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ เกษตรแปรรูป เกษตรอัจฉริยะ และการพัฒนาระบบนิเวศ
                  การเกษตร

                        3.3.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)

                             แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 ได้น้อมน าหลัก
                  “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญาน าทางในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องจากแผนพัฒนา
                  เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9-11 โดยท าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12

                  ส านักคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) ได้จัดท าบนพื้นฐานของกรอบ
                  ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศ และเป้าหมายการ
                  พัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทย

                  ไปสู่ประเทศไทย 4.0 ตลอดจนประเด็นการปฏิรูปประเทศ นอกจากนั้นได้ให้ความส าคัญกับการมีส่วน
                  ร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันก าหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้ง
                  ร่วมจัดท ารายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “ความมั่งคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

                            1) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

                              การขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะเน้นการพัฒนา
                  และใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นก้าวหน้าที่เข้มข้นมากขึ้น การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

                  การพัฒนาและยกระดับคุณภาพของก าลังคน และความคิดสร้างสรรค์ในการขยายฐานเศรษฐกิจและ
                  ฐานรายได้ใหม่ควบคู่กับการเพิ่มผลิตภาพของฐานการผลิตและบริการเดิมรวมทั้งการต่อยอดการผลิต
                  และบริการเดิมโดยใช้ดิจิทัล และเทคโนโลยีอัจฉริยะ นอกจากนั้นจะให้ความส าคัญกับการใช้ศักยภาพ
                  ของทรัพยากรชีวภาพ การส่งเสริม การเชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่มูลค่าอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาพื้นที่

                  เศรษฐกิจใหม่และการพัฒนาตามแนว ระเบียงเศรษฐกิจ การผสมผสานภาคบริการเข้ากับการค้าและ
                  การเตรียมความพร้อมของภาคบริการ ให้สามารถรองรับการแข่งขันที่เสรีขึ้น การเสริมสร้างศักยภาพ
                  การแข่งขันให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งการสร้างสังคมผู้ประกอบการที่ผลิตได้ขาย
                  เป็น โดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภคอย่างรวดเร็วและมาตรฐานสากลของ

                  สินค้าและบริการที่สูงขึ้นรวมถึงมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรวมทั้งพัฒนาระบบและกลไก ตลอดจนการ
                  พัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อกระจายโอกาสเศรษฐกิจให้คนในชุมชนและท้องถิ่นและแบ่งปันผลประโยชน์อย่าง
                  เป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ าทางเศรษฐกิจ

                              การสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจรายสาขา เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการ
                  แข่งขัน ของภาคเกษตร อุตสาหกรรม บริการ และการค้าการลงทุน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ
                  ชีวภาพให้เป็นฐานรายได้ใหม่ที่ส าคัญ พัฒนาระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงและมีการปรับตัวให้
                  พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อให้ฐานการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกรมี




                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย                                กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75