Page 74 - longan
P. 74

3-36




                            -  ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับความต้องการของ

                  ตลาด มีมาตรฐานต่อผู้บริโภค
                            -  วิจัย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตทางการเกษตร
                            -  พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตร เน้นการใช้ทรัพยากรการเกษตรอย่างมี

                  ประสิทธิภาพ ยั่งยืน และไม่สงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
                            กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงต้องก าหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสม
                  สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบาย
                  รัฐบาล ดังนี้
                            1) แผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12

                  (พ.ศ. 2560 - 2564)
                            ทิศทางการพัฒนาการเกษตรในระยะเวลา 5 ปี ข้างหน้าของแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วง
                  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ยังคงยึดหลักคนเป็นศูนย์กลาง

                  ของการพัฒนาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และ
                  ผลักดันการประยุกต์ใช้ปรัชญาดังกล่าว ส่งเสริมเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีทั้งเกษตรกรรายย่อยและ
                  เกษตรเชิงพาณิชย์ สามารถผลิตสินค้าเกษตรอย่างเพียงพอ มีความหลากหลายและมีคุณภาพตรงตาม
                  ความต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ประชาชนสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างทั่วถึง

                  รวมถึงประเทศไทยยังคงครองความสามารถในการค้าสินค้าเกษตรและอาหารในระดับต้น ๆ ของโลกไว้
                  มีส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศต่อไป กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมี
                  ยุทธศาสตร์ส าคัญของการพัฒนาการเกษตรในระยะ 5 ปีข้างหน้า ที่สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                  แห่งชาติ ฉบับที่ 12 ซึ่งครอบคลุมการด าเนินงานก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย ดังนี้

                              (1)  ยุทธศาสตร์พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต การจัดการสินค้าเกษตร และความ
                  มั่นคงด้านอาหาร ประเทศไทยมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการผลิตทางการเกษตรมีความ
                  หลากหลายทางชีวภาพ มีการใช้ภูมิปัญญาแบบผสมผสานและสอดคล้องกับภูมิสังคมแต่ละท้องถิ่น
                  สามารถผลิตสินค้าเกษตรได้เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศและส่งออก สร้างรายได้ให้กับ

                  ประเทศมาตลอด
                              (2) ยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุล และยั่งยืน
                  ทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานการเกษตรมีความส าคัญต่อการพัฒนาภาคเกษตร เนื่องจากเป็นปัจจัย

                  การผลิตพื้นฐานในการท าการเกษตร เช่น ทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรพื้นฐานที่สร้างปัจจัยการผลิตที่จ าเป็นต่อ
                  การด ารงชีวิตมากมาย และปัจจุบันทรัพยากรที่ดินเกิดปัญหาความเสื่อมโทรมทั้งจากธรรมชาติและจาก
                  การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างและพัฒนาการใช้ทรัพยากรที่ดินอย่างมี
                  ประสิทธิภาพ เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรที่ดินให้มีความเหมาะสมต่อการผลิตพืชเศรษฐกิจล าไย เตรียมความพร้อม
                  ในการรองรับและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเพื่อสนับสนุนให้

                  ชุมชนท้องถิ่นเข้ามาส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากร จึงมีการส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรที่ดินอย่าง
                  มีประสิทธิภาพ ด้วยการเร่งรัดการฟื้นฟูและปรับปรุงคุณภาพดินที่เสื่อมโทรม และวางระบบการใช้ที่ดินตาม
                  ศักยภาพ






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย                                กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79