Page 71 - longan
P. 71

3-33




                  ความมั่นคง เพื่อเร่งผลักดันให้สินค้าเกษตรและอาหารของไทยมีความโดดเด่นในด้านคุณภาพ มาตรฐาน

                  และความปลอดภัยในตลาดโลก
                              เสริมสร้างขีดความสามารถการผลิตในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเกษตร โดย (1) เสริมสร้าง
                  ศักยภาพของสถาบันเกษตรกรและการรวมกลุ่มให้เป็นกลไกหลักในการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่มูลค่า

                  ของอุตสาหกรรมเกษตร โดยอาศัยแนวคิดและกระบวนการสหกรณ์เป็นพื้นฐานในการเสริมสร้าง ความ
                  เข้มแข็งให้ครอบคลุมเกษตรกรและประชาชนในทุกพื้นที่และขยายผลเชื่อมโยงเครือข่ายระบบการผลิต
                  การตลาดและการเงิน กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และคลัสเตอร์ที่เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม
                  ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติ ร่วมกับการขับเคลื่อนและสนับสนุนการด าเนินธุรกิจการเกษตรแบบ
                  ประชารัฐ การลงทุนแบบความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชน และการท าเกษตรพันธสัญญาที่มีความ

                  รับผิดชอบต่อสังคม และมีความเป็นธรรม (2) ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตพืช ปศุสัตว์ และการท าประมงให้
                  สอดคล้องกับศักยภาพ พื้นที่และความต้องการของตลาด (Zoning) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน
                  การผลิต โดยเร่งส่งเสริมการท าเกษตรแปลงใหญ่และเกษตรกรรมแม่นย าสูงในพื้นที่ที่เหมาะสม การร่วม

                  จัดหาปัจจัยการผลิตและเครื่องจักรกลการเกษตร การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการปรับปรุง
                  การผลิต และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจ าเป็นด้านการเกษตร อาทิ ระบบโลจิสติกส์ และระบบภูมิ
                  สารสนเทศในการวางแผนการผลิตตลอดห่วงโซ่ ตลอดจนส่งเสริมการท าเกษตรแบบประณีตที่ต้องใช้องค์
                  ความรู้ควบคู่กับการวางแผนและการจัดการอย่างเป็นระบบมีความเอาใจใส่ และใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์

                  และคุ้มค่ามากที่สุด รวมทั้งค านึงถึงระบบนิเวศ การพัฒนาสินค้าเกษตรที่ได้จดทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทาง
                  ภูมิศาสตร์และการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมไปสู่การท าเกษตรทางเลือกอื่น ๆ รวมถึง
                  การส่งเสริมระบบและการเลี้ยงปศุสัตว์และการท าประมงอย่างยั่งยืน (3) วิจัยพัฒนาและใช้เทคโนโลยี
                  และเครื่องจักรสมัยใหม่ในกระบวนการผลิต ทั้งก่อนการเก็บเกี่ยว หลังเก็บเกี่ยวและในกระบวนการแปร

                  รูปเพื่อให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต ตลอดห่วงโซ่การผลิต (4) สนับสนุนการสร้าง
                  มูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร และการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรชีวภาพเพื่อต่อยอดองค์ความรู้และพัฒนา
                  ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง โดยน าผลการวิจัยและพัฒนามาใช้ประโยชน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรและ
                  ผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ที่หลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดบนพื้นฐานของการสร้าง

                  เครือข่ายความร่วมมือทั้งภาคเกษตรกร ภาคเอกชน และภาครัฐ (5) บริหารจัดการผลผลิตอย่างเป็น
                  ระบบครบวงจร โดยมีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับ ความต้องการของ
                  ภาคอุตสาหกรรมเพื่อการแปรรูปสร้างมูลค่าและความต้องการของผู้บริโภคในตลาด เพื่อสร้างสมดุลการ

                  ผลิตในทุกระดับตั้งแต่ท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค และประเทศ ตลอดจนมีการเชื่อมโยงการผลิตภาคเกษตร
                  กับภาคการผลิตอื่น เช่น ภาคบริการและการท่องเที่ยวเพื่อลดการพึ่งพิงการส่งออกสินค้าเกษตร และ
                  เพิ่มมูลค่าทางการเกษตร (6) พัฒนากลไกจัดการความเสี่ยงที่กระทบต่อสินค้าเกษตร ได้แก่ ตลาดซื้อ
                  ขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า การจัดตั้งกองทุนประกันภัยพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งสร้างระบบเตือนภัย
                  ทางการเกษตรล่วงหน้า และ (7) สร้างความร่วมมือด้านการเกษตรกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการเป็น

                  แหล่งผลิตวัตถุดิบเพื่อการแปรรูปสร้างมูลค่าและโอกาสในด้านการตลาดจากการส่งออกทั้งในและนอก
                  ภูมิภาคอาเซียน
                              ส่งเสริมและเร่งขยายผลแนวคิดการท าการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                  โดย (1) ส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการก าหนดนโยบายการเกษตร มีส่วนร่วมคิดร่วมท าและเป็น




                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย                                กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76