Page 76 - longan
P. 76

3-38




                           นอกจากมาตรการเพิ่มเติม 7 ประการ ยังมีการพัฒนาคุณภาพผลผลิตตามความเหมาะสมของ

                  พื้นที่ การเชื่อมโยงตลาด ภายใต้โครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรตามอัตลักษณ์และภูมิปัญญา
                  ท้องถิ่น การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีโดยศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) และ
                  หน่วยงานส่งเสริมต่าง ๆ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผลไม้และผลไม้อัตลักษณ์ตลอดจนการจัดท า

                  แปลงเรียนรู้การส่งเสริมการผลิตตามระบบมาตรฐาน GAP GMP เกษตรอินทรีย์ (Organic) และสิ่งบ่งชี้
                  ทางภูมิศาสตร์ (GI) การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งขององค์กรตามระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลง
                  ใหญ่ สหกรณ์ และศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม การตรวจสอบย้อนกลับโดยใช้
                  QR Code และการสร้างแบรนด์ (Branding) เป็นต้น
                           ทั้งนี้ ภายใต้โมเดลเกษตรผลิตพาณิชย์ตลาดตามยุทธศาสตร์ตลาดน าการผลิตและ “5

                  ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็น
                  แนวทางในการบริหารจัดการผลไม้ในสถาวะวิกฤติโควิด-19 เน้นร่วมบูรณาการทุกภาคส่วน และการใช้
                  เทคโนโลยี นวัตกรรมจากศูนย์ AIC เพื่อยืดอายุผลผลิต และแปรรูปยกระดับสู่อุตสาหกรรมเกษตร

                  อาหารเพิ่มมูลค่ารายได้ให้มากขึ้นต่อไป ซึ่งในปี 2565 และปีต่อ ๆ ไปได้วางเป้าหมายพลิกโฉมภาค
                  เกษตรไทยมุ่งเน้นการท าเกษตรมูลค่าสูง ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566
                  -2570) ในมิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมายหมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นน าด้านสินค้าเกษตร
                  และเกษตรมูลค่าสูง มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าของสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป โดยอาศัยเทคโนโลยีและ

                  นวัตกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานของภาคเกษตร และการสนับสนุนบทบาทของ
                  ผู้ประกอบการเกษตร โดยมอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมหรือศูนย์ AIC ภาคเหนือ
                  และอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือเร่งวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมรวมทั้งการแปร
                  รูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลไม้ เพราะมีแหล่งผลิตส าคัญในภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ล าพูน

                  ล าปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน จากสถานการณ์การผลิต ปี 2560 – 2564 เนื้อที่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
                  จาก 1,451,714 ไร่ ในปี 2560 เป็น 1,655,036 ไร่ ในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.13 ต่อปี ผลผลิต
                  เพิ่มขึ้นจาก 1,200,804 ตัน ในปี 2560 เป็น 1,437,740 ตัน ในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.12 ต่อปี
                  และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก 827 กิโลกรัมในปี 2560 เป็น 869 กิโลกรัม ในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้น

                  ร้อยละ 0.004 ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งเสริมสนับสนุนของรัฐบาล" อย่างไรก็ตามเรายังเผชิญปัญหา
                  ราคาล าไยตกต่ าในบางปีบางฤดูเป็นปัญหาซ้ าซากตลอดมาจึงให้ด าเนินการโครงการประกันราคาล าไย
                  ขั้นต่ าบนความร่วมมือระหว่างภาคเกษตรกรและภาคเอกชนโดยการสนับสนุนของภาครัฐเป็นโมเดลใหม่

                  เพื่อให้ทุกภาคส่วนเป็นหุ้นส่วนกัน (Partnership model) แบบ win-win ทุกฝ่ายเช่นที่ก าลังด าเนินการ
                  กับอุตสาหกรรมกุ้งโดยบอร์ดกุ้งซึ่งภาคเอกชนตกลงกับเกษตรกรในการประกันราคาขั้นต่ า
                           กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ติดตามสถานการณ์ผลผลิตล าไยในพื้นที่ภาคเหนืออย่าง
                  ใกล้ชิด เพื่อเตรียมการรองรับผลผลิตล าไยออกสู่ตลาดล่วงหน้าตามแนวทางการบริหารจัดหารผลผลิต
                  ล าไยปี 2565 เช่น โครงการกระจายล าไยออกนอกแหล่งผลิต บางจังหวัด โดย คพจ. ได้ขอรับการ

                  จัดสรรงบประมาณจากเงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อเตรียมการรองรับการแก้ไขปัญหาและ
                  บรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากและราคาผลผลิตตกต่ า
                  เป้าหมาย การสนับสนุนค่าบริหารจัดการกระจายผลผลิตล าไยออกนอกแหล่งผลิต การรับซื้อในราคาน า

                  ตลาดตลอดจนแนวทางการบริการจัดการ ตั้งแต่ต้นทาง คือ เน้นตลาดน าการผลิต การลดต้นทุน พัฒนา




                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย                                กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81