Page 80 - longan
P. 80

3-42




                  3.4  ศักยภาพ โอกาส และข้อจ ากัด ในการผลิต


                        3.4.1 โอกาสในการพัฒนาการผลิตและการตลาดของล าไย

                             จุดแข็ง (ปัจจัยภายใน)
                                    1) ประเทศไทยมีสภาพพื้นที่ สภาพอากาศ ทรัพยากรดินและน้ า ที่มีศักยภาพ
                  เหมาะสมต่อการปลูกล าไย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สามารถ

                  พัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิตต่อไร่ได้เมื่อมีการจัดการที่เหมาะสม
                                    2) เกษตรกรในพื้นที่ที่ปลูกล าไยส่วนมาก มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์
                  และความช านาญในการผลิตล าไยมาเป็นเวลานาน
                                    3) ล าไยเป็นพืชยืนต้น มีอายุการให้ผลผลิตหลายปี จึงไม่ต้องลงทุนการเพาะปลูก
                  บ่อย หากมีการจัดการดูแลอย่างถูกวิธีสามารถให้ผลผลิตอย่างสม่ าเสมอ

                                    4) เกษตรกรสามารถผลิตล าไยนอกฤดูได้ โดยการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตเพื่อ
                  ชักน าการออกดอกของล าไยโดยไม่ต้องพึ่งพาความหนาว ส าหรับการผลิตล าไยนอกฤดู ท าให้สามารถ
                  กระจายตัวของช่วงฤดูการผลิตได้ตลอดปี

                                    5) ล าไยเป็นผลไม้ที่มีรสหวาน นิยมรับประทานกันทั่วไปทั้งล าไยสดและแปรรูป
                  ทั้งในและต่างประเทศ

                             โอกาส (ปัจจัยภายนอก)
                                    1) ผลิตภัณฑ์ล าไยเป็นที่ยอมรับและความต้องการของตลาดทั้งในและ
                  ต่างประเทศ

                                    2) มีโรงรมล าไยสด และโรงงานแปรรูปล าไย ที่ขึ้นทะเบียนและมีมาตรฐาน
                                    3) ภาคเหนือมีพื้นที่ที่เหมาะสมส าหรับการปลูกล าไยระดับปานกลางถึงสูง ถึงร้อย
                  ละ 30.35 ของพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกมีพื้นที่ที่เหมาะสมส าหรับการปลูกล าไยระดับปาน
                  กลางถึงสูง ถึงร้อยละ 32.44 ของพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งเหมาะต่อการส่งเสริมการผลิต เนื่องจากระบบ

                  การขนส่งที่สะดวก และมีแหล่งรับซื้อ โรงรมล าไยสด และโรงงานแปรรูป กระจายอยู่ทั่วบริเวณพื้นที่ที่มี
                  การปลูกล าไย
                                    4) มีงานวิจัยสนับสนุน และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมจากล าไย ในอุตสาหกรรม
                  เครื่องส าอาง อาหารเสริมและสุขภาพ เพราะสารสกัดในล าไยจากใบ เปลือก ดอก เนื้อ และเมล็ดมี

                  ประโยชน์ต่อร่างกาย รวมถึงต่อต้าน “โควิด”
                                    5) ล าไยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยไม่น้อย ซึ่งภาครัฐได้ให้
                  ความส าคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับผลไม้เศรษฐกิจหลัก 7 ชนิด (มะม่วง ทุเรียน มังคุด
                  เงาะ ลองกอง ล าไย และลิ้นจี่)

                                    6) การปลูกล าไยของประเทศคู่แข่ง เช่น จีน ยังไม่ประสบผลส าเร็จในการกระจาย
                  ฤดูการผลิตหรือการผลิตล าไยนอกฤดู เนื่องจากมีความหนาวเย็นเกินไปในบางช่วงของปี ท าให้ไม่
                  สามารถผลิตล าไยตลอดปีเหมือนไทยได้ และเวียดนามซึ่งเป็นคู่แข่งส าคัญอีกประเทศหนึ่งยังขาดพันธุ์ที่มี

                  คุณภาพดี ประเทศไทยจึงสามารถพัฒนาล าไยนอกฤดูบนจุดอ่อนเหล่านี้ของคู่แข่งได้






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย                                กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85