Page 75 - longan
P. 75

3-37




                        3.3.5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาผลไม้ไทย


                            ปัจจุบันผลไม้ไทยนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า
                  45,613 ล้านบาท ซึ่งภาครัฐได้ให้ความส าคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับผลไม้เศรษฐกิจหลัก
                  7 ชนิด ได้แก่ มะม่วง ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ล าไย และลิ้นจี่ เพื่อผลิตผลไม้ที่มีคุณภาพและได้
                  มาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมอบหมายให้กรมส่งเสริม
                  การเกษตรในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) จัดการ

                  สัมมนาดังกล่าวขึ้น เพื่อรับฟังความคิดเห็นรอบด้านจากทุกภาคส่วน เพื่อน าข้อมูลและข้อเสนอแนะไป
                  ปรับปรุงแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ. 2565 - 2570 หรือยุทธศาสตร์การพัฒนาผลไม้
                  ไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2565 - 2570) ให้ครอบคลุมสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์

                  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่การจัดการผลิต และผลิตไม้ผลคุณภาพสู่ผู้บริโภค รวมทั้งเพื่อแก้ไข
                  ปัญหาการตลาดสินค้าผลไม้ที่มีมายาวนานต่อเนื่อง โดยเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบแผนปฏิบัติ
                  การด้านการพัฒนาผลไม้ไทยในส่วนกลาง ระดับเขต และระดับจังหวัดของกรมฯ ตลอดจนหน่วยงาน
                  ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ได้บูรณาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชื่อมโยงข้อมูลด้านการพัฒนาผลไม้ไทย

                  ร่วมกัน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ไทยในอนาคต
                           หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีผลต่อการค้าการขนส่งและการส่งออกผลไม้
                  ไทยไปจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของไทย โดยทางการจีน เวียดนาม รวมทั้งไทย จึงได้จัดประชุมทางไกล
                  เร่งด่วนและประสานการท างานกับส านักงานเกษตรของไทยในจีน รวมทั้งสมาคมผู้ประกอบการค้าผลไม้

                  ที่มีสมาชิกกว่า 900 ล้ง และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ใหม่โดยสรุปปัญหาและ
                  ก าหนดมาตรการเพิ่มเติม 7 ประการ ดังนี้
                               1) เร่งการน าเข้าตู้คอนเทนเนอร์กลับจากจีนและเวียดนามทั้งการขนส่งทางบกและทางเรือ
                  ให้หมุนเวียนกลับมาไทยเร็วที่สุด

                               2) ขอการสนับสนุนจาก “ศบค.” จัดหาวัคซีนจ านวนอย่างน้อย 30,000 โด้สให้แก่
                  พนักงานและแรงงานของบริษัทส่งออกและล้งตลอดห่วงโซ่ผลไม้เป็นการเร่งด่วน เพื่อให้สามารถกลับมา
                  ด าเนินงานได้ตามปกติเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานของล้งและบริษัทส่งออก

                               3) ผ่อนปรนมาตรการควบคุมโควิดและอ านวยความสะดวกให้ผู้ค้าและล้งจากภาค
                  ตะวันออกซึ่งมีกว่า 900 ล้งสามารถเข้าไปรับซื้อผลไม้ในพื้นที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี
                  นครศรีธรรมราช เป็นต้น
                               4) เร่งรณรงค์การบริโภคผลไม้ภายในประเทศ
                               5) ขยายการค้าออนไลน์ทุกแพลตฟอร์ม (B2C B2B B2F B2G)

                               6) เร่งระบายจ าหน่ายผลไม้ออกจากพื้นที่กระจายทุกช่องทางโดยขอความร่วมมือ
                  ภาคเอกชนและภาครัฐ
                               7) สนับสนุนคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตร

                  ระดับจังหวัด (คพจ.) และหน่วยงานภาครัฐเร่งขับเคลื่อนมาตรการตามที่ได้รับการอนุมัติไปก่อนหน้านี้
                  จากคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ ทั้งแผนงานและงบประมาณตามแผนบริหารจัดการผลไม้
                  ภาคเหนือและภาคใต้






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย                                กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80