Page 69 - longan
P. 69

3-31




                  ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ที่ดินทิ้งร้างทางราชการ ปกป้องที่สาธารณประโยชน์ ที่ดินทุ่งเลี้ยงสัตว์ ห้ามการ

                  ปิดกั้นชายหาดสาธารณะ ผลักดันกฎหมายในการรับรองสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากรที่ดิน น้ า
                  ป่าไม้ และทะเล ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาการ
                  ด าเนินคดีโลกร้อนกับคนจน

                              -  พัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย
                  การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ที่ชุมชน ท้องถิ่น ส่งเสริมการท าวิจัยร่วมกับต่างประเทศ
                  รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างประหยัดและช่วยลด
                  มลพิษ จัดหาบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดและองค์กร
                  ปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาเครือข่ายนักวิจัยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัยและภาคีอื่น ๆ

                  สนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งการฟื้นฟูและการ
                  ป้องกันการชะล้างท าลายดิน ด าเนินการศึกษา ส ารวจและก าหนดยุทธศาสตร์การใช้ทรัพยากรธรณีอย่าง
                  ยั่งยืน รวมถึงการศึกษาและอนุรักษ์ซากดึกด าบรรพ์

                        3.3.2 ยุทธศาสตร์ชาติ

                          รัฐธรรมนูณแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 65 ก าหนดให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็น

                  เป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดท าแผนให้
                  สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยให้เป็นไป
                  ตามที่ก าหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดท ายุทธศาสตร์ชาติ และเพื่อให้ยุทธศาสตร์ชาติบรรลุเป้าหมายที่
                  ก าหนดไว้จึงได้มีการจัดท าแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งสิ้น 23 แผนแม่บท เพื่อให้ประเทศไทย

                  บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลัก
                  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

                          แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการเกษตร
                          ภาคเกษตรมีบทบาทส าคัญในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ
                  รวมทั้งเป็นแหล่งจ้างงานที่ส าคัญ การพัฒนาภาคการเกษตรให้มีศักยภาพและขีดความสามารถทางการ

                  แข่งขันจะเป็นปัจจัยแห่งความส าเร็จที่ส าคัญที่จะช่วยให้การด าเนินการตามยุธศาสตร์ชาติ
                  ด้านต่าง ๆ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามเป้าหมาย โดยเฉพาะด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
                  โดยการยกระดับศักยภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และสินค้าเกษตร ด้านการสร้าง
                  โอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โดยการกระจายรายได้สู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ า ด้านการสร้าง

                  การเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยสร้างการเติบโตที่ค านึงถึงความยั่งยืนของ
                  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
                          ในช่วงปี 2550-2560 ภาคเกษตรของไทยมีอัตราการเติบโตในระดับที่น้อยกว่าร้อยละ 1 โดยมี
                  สาเหตุส าคัญจากข้อจ ากัดด้านการใช้และเข้าถึงปัจจัยการผลิตที่ไม่เหมาะสม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

                  และนวัตกรรม ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อการยกระดับศักยภาพการผลิต
                  และรายได้ของภาคเกษตร ซึ่งที่ผ่านมาได้มีมาตรการในการบรรเทาปัญหา แต่ส่วนใหญ่เป็นแผนระยะสั้น
                  เพื่อการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า สะท้อนให้เห็นว่าภาคเกษตรของไทยยังสามารถได้รับการพัฒนา
                  เพื่อยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันให้เทียบเท่ากับภาพการผลิตอื่น ๆ และเป็นส่วน





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย                                กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74