Page 43 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน
P. 43
2-31
รูปที่ 2-4 ผลผลิตและราคาที่เกษตรกรขายได้ ปี 2557 -2561
เมื่อพิจารณาลักษณะการปลูกขมิ้นชันในประเทศไทย พบว่า ในอดีตส่วนใหญ่ปลูกขมิ้นชันเป็นพืชรอง
หรือพืชเสริมรายได้ แต่ในปัจจุบันมีการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากขมิ้นชันมากขึ้น ท าให้เกษตรกร
เปลี่ยนมาปลูกขมิ้นชัน ในลักษณะพืชเชิงเดี่ยวมากขึ้น จากข้อมูลกรมส่งเสริมการเกษตร การปลูก
ขมิ้นชันในปี 2559 ให้ผลตอบแทนจากกการผลิตไร่ละ 11,000 – 16,000 บาท (ตารางที่ 2-2)
ตารางที่ 2-2 ต้นทุน ผลตอบแทน ของการผลิตขมิ นชันของไทยปี 2559
รายการ จ้านวน (บาท)
ต้นทุนทั งหมด 13,735.00
ต้นทุนผันแปร 13,500.00
-ค่าแรงงาน (เตรียมดิน ปลูก ดูแลรักษา เก็บเกี่ยว หลังเก็บเกี่ยว) 8,500.00
-ค่าวัสดุการเกษตร 5,000.00
(พันธุ์ ปุ๋ย สารก าจัดศัตรูพืช/วัชพืช อุปกรณ์การเกษตร)
ต้นทุนคงที่ (ค่าใช้ที่ดิน/ภาษี) 235.00
ผลตอบแทน (บาท/ไร่) 11,000.00 – 16,000.00
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร (2562)
ทั้งนี้เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมการปลูกพืชแบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ปลูกขมิ้นชันได้ปลูกร่วมกับ
พืชอื่น เช่น ข้าวโพด พริก แตง หรือพืชตระกูลถั่ว ซึ่งพืชเหล่านี้สามารถน าไปขายสร้างรายได้ และ
บริโภคในครัวเรือน ตัวอย่างกรณีเกษตรกรปลูกพืชผสมผสานในพื้นที่ปลูกขมิ้นชัน โดยเกษตรกรมีที่ดิน
5 ไร่ สร้างผลตอบแทนในรอบการผลิต 1 ปี ดังนี้ (ตารางที่ 2-3)
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน