Page 39 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน
P. 39
2-27
จากการส ารวจพื้นที่ภาคสนามในแหล่งปลูกที่ส าคัญ พบว่า
- กลุ่มวิสาหกิจชุนชนสมุนไพรรวมมิตรชุมชนบ้านเปียะ ต าบลศรีดอนชัย อ าเภอเชียงของ
จังหวัดเชียงราย มีการปลูกขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้หอม มีการปลูกแบบหัวไร่ปลายนา ชาวบ้านปลูกพืช
เฉลี่ย 1-2 งาน มีการท าสินค้า OTOP จ าหน่ายในชุมชน เช่น สบู่ ลูกประคบ เป็นต้น มีการปลูกขมิ้นชัน
กับไพลอย่างชัดเจน อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร แต่ไม่ได้ปลูกร่วมกัน พื้นที่ปลูกอยู่ใกล้กับโรงพยาบาลเชียง
ของ ไม่มีการปลูกพืชสลับหมุนเวียน
- หมู่บ้านราษฎร์ภักดี (หมู่บ้านชาวม้ง) ต าบลตับเต่า อ าเภอเทิง จังหวัดเชียงราย แปลง
ไม่ได้ขึ้นทะเบียนของกรมส่งเสริมการเกษตร แปลงปลูกขมิ้นชันอย่างเดียว แปลงบนดอยมีขนาดเล็ก
และริมถนนแปลงขนาดใหญ่ ได้รับพันธุ์มาปลูกจากพ่อค้าคนกลาง ใช้ยาฆ่าหญ้าตอนที่ต้นยังเล็ก และ
ไม่ได้ปลูกใกล้ริมน้ า ราคาต่ าสุดกิโลกรัมละ 8 บาท และราคาสูงสุด กิโลกรัมละ 20-30 บาท เริ่มปลูก
เดือนเมษายน จะปลูกเป็นระยะเวลา 2 ปีถึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิต เนื่องจากผลผลิตจะมีขนาดหัวใหญ่เป็น
2 เท่า และมีปริมาณน้ าหนักมากกว่า ในพื้นที่แปลงปลูกจะมีการปลูกข้าวโพด ข้าว สลับหมุนเวียนกัน
- กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกพืชสมุนไพรด่านทับตะโก หมู่ที่ 13 ต าบลด่านตะโก อ าเภอจอม
บึง จังหวัดราชบุรี เป็นกลุ่มที่มีการปลูกขมิ้นชันทั้งหมด เกษตรกรปลูกคนละ 1-2 งาน อยู่ในโครงการ
จัดตั้งระบบเทคโนโลยีพลังงานทดแทน เพื่อส่งเสริมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ด้วยระบบอบแห้งด้วยพลังงาน
แสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก จ านวน 1 ระบบ ด าเนินการโดยส านักงานพลังงานจังหวัดราชบุรี แปลง
เกษตรกรไม่ได้ขึ้นทะเบียนของกรมส่งเสริมการเกษตร ในหมู่ที่ 13 มีชาวบ้านปลูกขมิ้นชันจ านวนมาก
แล้วแต่แปลงว่าจะมีการปลูกมากหรือปลูกน้อย แต่ส่วนใหญ่จะปลูกขมิ้นชัน และในบางแปลงจะมีพ่อค้า
คนกลางจากจังหวัดนครปฐมมารับสินค้าถึงที่ โดยน าไปแปรรูปท าสมุนไพรเกี่ยวกับสปา การปลูก
ขมิ้นชันบางครั้งมีการฝ่อของหัวท าให้ได้ผลผลิตไม่ดี นอกจากนี้ยังมีว่านเอ็นเหลือง และว่านมหาเมฆด้วย
- บ้านท่าดินแดง ต าบลปรังเผล อ าเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี แปลงปลูกขมิ้นชันอยู่
บนเนินเขามีอ่างน้ าใกล้บริเวณพื้นที่ปลูก มีพ่อค้าคนกลางมารับสินค้า เกษตรกรปลูกคนละ 3-4 ไร่ มาก
สุดถึง 10-15 ไร่ บางแปลงปลูกขมิ้นชันร่วมกับปลูกมันส าปะหลัง โดยแบ่งปลูก 70:30 ปลูกมัน
ส าปะหลัง 70% และปลูกขมิ้นชัน 30% เดิมปลูกมันส าปะหลังเป็นพืชเชิงเดี่ยว แต่ปัจจุบันมีการปลูก
ขมิ้นชันร่วมด้วย ได้รับผลผลิตในระดับดี อีกทั้งมีลานรับซื้อสินค้าพืชทั้งสองชนิดในหมู่บ้านด้วย
- บ้านสะพานลาว ต าบลสหกรณ์นิคม อ าเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ในหมู่บ้านมี
เกษตรกรปลูกขมิ้นชัน คนละ 1-2 ไร่ อยู่หลายแปลง ปลูกช่วงเดือนกรกฎาคม และรอน้ าฝนจากช่วงฤดู
ฝนเนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้ง ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนเหนียว ซื้อต้นพันธุ์ราคา 6 บาทต่อต้น แต่
ถ้าผลผลิตมีหัวใหญ่ผลผลิตดีไม่เน่าหรือไม่มีเชื้อราสามารถเก็บไว้ปลูกในครั้งถัดไป ส่วนใหญ่ใช้
แรงงานคนในครอบครัว ได้รับผลผลิต 3-4 ตันต่อไร่ มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อราคากิโลกรัมละ 6 บาท มี
การปลูกพืชสลับหมุนเวียนกัน โดยมีขมิ้นชัน ไพล และมันส าปะหลัง มีเว้นระยะในการปลูก 1-2 ปี ถ้า
ราคาดีปลูก 1 ปีต่อครั้ง แต่หากราคาลดลงปลูก 2 ปีต่อครั้ง โดยมีโรงพยาบาลบ้านฉางเป็นแหล่ง
ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพร และปัญหาในการรับซื้อผลผลิต และความสูงจากระดับน้ าทะเลที่มีผลต่อ
ผลผลิต
- บ้านหม่องกะลา ต าบลหินดาด อ าเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี มีการปลูกขมิ้นชัน
เดือนพฤษภาคม เก็บผลผลิตปลายเดือนตุลาคม แปลงปลูกขนาด 2 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 3 ตัน
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน