Page 44 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน
P. 44
2-32
ตารางที่ 2-3 ผลตอบแทนการปลูกขมิ นชันแบบเกษตรผสมผสานในพื นที่ต้นแบบ 5 ไร่
พืชในแปลงผสมผสาน ผลตอบแทน (บาท/ปี)
ขมิ้นชัน 120,000
ข้าวโพด 30,000
พริก 70,000
รายได้รวม 220,000
ในด้านราคาผลผลิตขมิ้นชัน โดยปกติราคาผลผลิตช่วงเดือนมกราคมจะต่ าที่สุด และเริ่มขยับขึ้น
ในช่วงเดือนมีนาคม ถึง เมษายน และมีราคาที่สูงสุดในช่วงเดือนมิถุนายน สรุปราคาขมิ้นชันประเภทหัวสด
และตากแห้ง ได้ดังนี้
- เฉลี่ยหัวสด กิโลกรัมละ 10 บาท (ราคาต่ าสุด 5 บาทต่อกิโลกรัม ราคาสูงสุด 30 บาทต่อ
กิโลกรัม)
- เมื่อน ามาตากแห้ง โดยการตากแดดและอบ ขายได้กิโลกรัมละ 150 บาท โดยผลผลิตขมิ้นชัน
จ านวน 1,000 กิโลกรัม เมื่อท าให้แห้งน้ าหนักจะเหลือ 200 กิโลกรัม
จากตารางที่ 2-4 ได้เปรียบเทียบผลตอบแทนจากการผลิตขมิ้นชันจากหัวขมิ้นชันสด 1,000 กิโลกรัม
พบว่า การแปรรูปขมิ้นชันแบบสไลด์ตากให้ผลตอบแทน 30,000 บาท ในขณะที่แบบต้มทั้งหัวให้
ผลตอบแทน 20,000 บาท เมื่อพิจารณาผลตอบแทนเหนือต้นทุนการผลิต พบว่า การแปรรูปแบบสไลด์ตาก
ให้ผลก าไร 16,000 บาท มากกว่าการต้มทั้งหัว 10,000 บาท
ตารางที่ 2-4 เปรียบเทียบปริมาณ ราคา ต้นทุน ผลตอบแทน และก้าไร ในการแปรรูปขมิ นชันขั นต้น
รายการ ก่อนแปรรูป ต้มทั งหัว สไลด์ตาก
ปริมาณที่ใช้ หัวขมิ้นชันสดต้ม 1,000 กก. หัวแห้ง 200 กก. หัวแห้ง 200 กก.
ราคา ราคา 10 บาท/กก. ราคา 100 บาท/กก. ราคา 150 บาท/กก.
ต้นทุน/ผลตอบแทน ต้นทุนขมิ้นชันสด 10,000 บาท แปรรูปแล้วขายได้ แปรรูปแล้วขายได้
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 4,000 บาท 20,000 บาท 30,000 บาท
ผลตอบแทนเหนือต้นทุน ต้นทุนรวม 14,000 บาท ก าไร 6,000 บาท ก าไร 16,000 บาท
ที่มา : ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (2562)
2.6.1 สถานการณ์ด้านการค้า
สถานการณ์การส่งออก-น้าเข้าของตลาดโลก
ในปี 2559 มีการส่งออกขมิ้นชันรวมทั้งสิ้น 143,144.00 ตัน คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 9,380.20
ล้านบาท โดยประเทศอินเดียเป็นผู้ส่งออกมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 80.08 ซึ่งเป็นปริมาณส่งออก
114,627.00 ตัน มูลค่า 7,104.70 ล้านบาท รองลงมา เป็นอินโดนีเซีย เมียนมา และเอธิโอเปีย ในขณะที่
ไทยส่งออกได้เพียง 87.00 ตัน เท่านั้น (เป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 22 ของโลก) และหากรวมปริมาณการส่งออก
ของประเทศในอาเซียนจะพบว่ามีสัดส่วนถึงร้อยละ 11 หรือ 15,080.00 ตัน ถือได้ว่าเป็นผู้ส่งออกส าคัญ
รองจากอินเดีย (ตารางที่ 2-5)
ส าหรับการน าเข้าในปี 2559 มีการน าเข้าขมิ้นชันรวมทั้งสิ้น 100,016.00 ตัน โดยประเทศ
อินเดียเป็นผู้น าเข้ามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 15.48 โดยมีปริมาณการน าเข้า 15,483.00 ตัน รองลงมา เป็น
อิหร่านและสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ไทยน าเข้าปริมาณ 218.00 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.22 (ตารางที่ 2-6)
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน