Page 41 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน
P. 41
2-29
มาได้แบ่งพื้นที่ในการปลูกสมุนไพรร่วมด้วย พื้นที่ปลูกสมุนไพรประมาณ 100 กว่าไร่ มีพืชสมุนไพรชนิด
อื่นร่วมอยู่ด้วยนอกเหนือจากไพลและขมิ้นชัน พื้นที่ปลูกไพลกับขมิ้นชันประมาณ 40-50 ไร่ จะปลูกโซน
เดียวกัน ใกล้กัน แต่ไม่ได้ปลูกด้วยกัน ปลูกเป็นระยะเวลา 2 ปี และน าพืชอื่นๆ มาปลูกสลับกัน มีการ
ปลูกปอเทืองแล้วไถกลบและปลูกขมิ้นชันตามฤดูกาล (ปลูกช่วงกลางปี เก็บผลผลิตช่วงปลายปี) ผลผลิต
ขมิ้นชันปีที่ผ่านมาได้น้อย 1.5- 2 ตันต่อไร่ ปัญหาที่ส่งผลกระทบคือน้ าฝน เพราะอากาศร้อนและแห้ง
แล้งมาก ดินค่อนข้างเป็นดินเหนียว และเป็นด่าง ต้องเพิ่มอินทรียวัตถุ และปุ๋ยพืชสดโดยได้รับการ
สนับสนุนจากกรมพัฒนาที่ดินทุกปี เช่น ปอเทือง
- บ้านลานทอง หมู่ที่ 4 ต าบลเขาวงกต อ าเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี เป็นศูนย์การ
เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรกิจกรรมการผลิตยางพาราและพืชสมุนไพร จะเป็น
ระบบเกษตรอินทรีย์ทั้งไม้ยืนต้น ไม้ผล ไม้เถา และพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ในส่วนของขมิ้นชันมีเกษตรกร
เพาะปลูกอยู่ทั้งหมด 36 ราย ขมิ้นชันปลูกรายละ 1 งาน หรือแล้วแต่พื้นที่เพาะปลูกของแต่ละราย พื้นที่
การเพาะปลูกนั้นต้องเป็นระบบอินทรีย์ผ่านมาตรฐาน 3 ข้อของกลุ่ม (1) มาตรฐาน PGS ของกลุ่ม (2)
มาตรฐานออแกรนิคไทยแลนด์ (3) มาตรฐานวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ IFOAM-Accredited ACT ส่วน
ใหญ่จะปลูกเป็นพืชแซมระหว่างพืชหลัก ผลผลิตของขมิ้นชัน 3-5 ตันต่อไร่ ราคารับซื้อสดถ้าหากล้าง
แล้วกิโลกรัมละ 20 บาท ถ้าไม่ล้างกิโลกรัมละ 10 บาท โดยมีการดูแลด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือ
อาจจะมีการเติมถ่าน ดินเป็นดินลูกรัง มีอุณหภูมิกลางวันกับกลางคืนต่างกัน 10°C อาจท าให้มีผลต่อ
ผลผลิตในด้านสารส าคัญมาก การเติบโตของพืชสมุนไพร และยังมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่นท าลูก
ประคบ ผลิตยาสมุนไพร น้ ามันไพล น้ ามันเหลือง เป็นต้น
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน