Page 40 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน
P. 40

2-28





                  ลักษณะดินค่อนข้างดี แต่ด้านล่างเป็นหินปูน ท าให้ได้ผลผลิตไม่ค่อยดี แต่แปลงที่ต าบลชะแล 10 ไร่ มี

                  สภาพอากาศหนาว ได้ผลผลิต 4 ตันต่อไร่ ซึ่งได้ผลผลิตอยู่ในระดับดี ราคาขายต่ าสุดกิโลกรัมละ 7 บาท
                  ราคาสูงสุดอยู่ที่ 10 บาท มีการปลูกมันส าปะหลังร่วมด้วย และมีการน าสมุนไพรไปปลูกแซมในสวน
                  ยางพาราที่ต้นขนาดเล็กอีกด้วย ส่งพ่อค้าคนกลางและน าไปขายเองที่ตลาดเป็นส่วนใหญ่ และมี

                  โรงพยาบาลมาติดต่อขอรับซื้อบ้างเป็นบางครั้ง
                             - ต าบลแม่กระบุ้ง อ าเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี มีการปลูกขมิ้นชันและไพล แต่จะ
                  ปลูกขมิ้นชันมากกว่า และปลูกเป็นเวลา 2 ปี จึงจะเก็บผลผลิต เนื่องจากหัวขมิ้นชันมันจะมีขนาดใหญ่
                  และน้ าหนักดีกว่า มีการปลูกข้าวโพดและพริกสลับหมุนเวียนกันไป ผลผลิตประมาณ 8 ตันต่อไร่ มีพ่อค้า
                  คนกลางมารับซื้อ ราคากิโลกรัมละ 8 บาท และยังสามารถจ าหน่ายให้วิสาหกิจชุมชนของหมู่บ้าน และ

                  โรงพยาบาล ราคากิโลกรัมละ 12 บาท
                             - บ้านต้นมะพร้าว ต าบลแม่กระบุง อ าเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี การปลูกขมิ้นชันได้
                  ผลผลิตไม่ดีนัก ประมาณ 1-1.5 ตันต่อไร่ ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกไพลมากกว่า

                             - บ้านหนองเรือ หมู่ที่10 ต าบลท่าตะเกียบ อ าเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา พื้นที่
                  เดิมมีการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมันส าปะหลัง ได้มีส านักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเข้าไปสนับสนุนให้
                  เกษตรกรปลูกพืชสมุนไพร และมีปราชญ์พื้นบ้านสอนท าสบู่เหลวขมิ้นชัน แม้เป็นกลุ่มรวบรวมเกี่ยวกับ
                  ไพล ก็มีแปลงเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรหลายชนิด เป็นสวนเกษตรทฤษฎีใหม่ (เกษตรผสมผสาน) และจะ

                  ยื่นเปลี่ยนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในการปลูกขมิ้นชันเกษตรกรจะปลูกเป็นพืชแซมระหว่างพืชหลักหรือ
                  พื้นที่ว่างในสวนแต่ได้ผลผลิตไม่ค่อยดี ราคาขายกิโลกรัมละ 10 บาท ด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจที่ซบเซา
                  ท าให้ราคาลดลงต่ ามาก และผลผลิตมีมากกว่าความต้องการของผู้รับซื้อ ปัญหาที่เกษตรกรพบบ่อยนั้นก็
                  คือมีปริมาณน้ าที่ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก

                             - กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หมู่บ้านทับทิมสยาม 05 หมู่ที่ 10 ต าบลคลองไก่เถื่อน อ าเภอคลอง
                  หาด จังหวัดสระแก้ว เป็นโครงการภายใต้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มีทั้งหมด 8 ศูนย์ ได้รับการสนับสนุน
                  และส่งเสริมให้มีการปลูกพืชสมุนไพรในพื้นที่ ท าให้เกิดการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มผู้ปลูกสมุนไพรใน
                  หมู่บ้าน จากนั้นจึงมีการน าสมุนไพรที่ปลูกได้มาจ าหน่ายให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรทับทิม

                  สยาม 05 โดยกลุ่มมีหลักการในการหาตลาดที่ชัดเจนก่อน คือเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัย
                  ภูเบศร โรงพยาบาลแพทย์แผนไทยวังน้ าเย็น และรายย่อยๆ ส่วนหนึ่งจะแปรรูปเป็นสมุนไพรอบแห้ง
                  หรือสมุนไพรตากแห้ง ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อจ าหน่ายเอง แต่เน้นเป็นศูนย์การเรียนรู้มากกว่า

                  แปรรูป เช่น ยาหม่องไพล ยาหม่องเสลดพังพอน น้ ามันไพล ยาดมสมุนไพร ลูกประคบ สบู่แบบก้อน
                  และสบู่เหลว สครับขมิ้นชัน เครื่องดื่มจากสมุนไพรต่างๆ เป็นต้น และได้รับการสนับสนุนขึ้นทะเบียน
                  เป็นสินค้า OTOP แล้ว ที่กลุ่มจะปลูกขมิ้นชันและไพลเป็นจ านวนมาก โดยท าสัญญาขมิ้นชันกับอภัย
                  ภูเบศ 2 ปีต่อครั้ง แต่ก่อนที่จะท าสัญญาซื้อขาย ทางอภัยภูเบศรได้ลงมาส ารวจพื้นที่ก่อนปลูกประมาณ
                  3 ปี เพื่อน าดินไปวิเคราะห์ตรวจหาสารเคมีตกค้าง ผลผลิตมีสารส าคัญได้มาตรฐานหรือไม่ และถ้ามี

                  ปัญหาควรแก้ไขและมีวิธีการปรับปรุงบ ารุงอย่างไร โดยรับซื้อขมิ้นชันแบบแห้งให้ราคากิโลกรัมละ 150
                  บาท แบบสดราคากิโลกรัมละ 10 บาท แต่ถ้าขายให้กับผู้ซื้อรายย่อยอื่นๆ ราคากิโลกรัมละ 15 บาท
                  กลุ่มก าหนดให้อยู่ในระบบเกษตรอินทรีย์มีสมาชิกทั้งหมด 51 คน มีสมาชิกเกษตรกรเพาะปลูก 40 ราย

                  ขึ้นไป กลุ่มแปรรูป และกลุ่มผู้ถือหุ้น พื้นที่เดิมปลูกพืชไร่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง แต่เมื่อมีการสนับสนุนเข้า





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน                    กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45