Page 47 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน
P. 47

2-35





                        สถานการณ์การส่งออก-น้าเข้าของไทย


                        ขมิ้นชันที่ผลิตได้ภายในประเทศ ส่วนใหญ่เป็นการใช้เพื่อบริโภคและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ
                  ภายในประเทศเป็นหลัก โดยส่วนหนึ่งมีการน าเข้ามาจากต่างประเทศ ส าหรับการส่งออกนั้นเป็นการส่งออก
                  ในรูปของขมิ้นแห้ง โดยในปี 2559 ส่งออกขมิ้นชันเป็นมูลค่า 12,852,211.00 บาท มีประเทศคู่ค้าที่ส าคัญ
                  คือ สหรัฐอเมริกา สวีเดน เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และนิวซีแลนด์ โดยมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 41.20,
                  24.57, 6.77, 5.67 และ 4.10 ตามล าดับ (ตารางที่ 2-7)

                        ส่วนการส่งออกสารสกัดจากขมิ้นชันนั้น มีการส่งออกในปริมาณน้อยมากประมาณร้อยละ 1 เท่านั้น
                  และใช้บริโภคภายในประเทศประมาณร้อยละ 99 ส าหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปจากขมิ้นชัน
                  ไม่สามารถระบุปริมาณและมูลค่าการส่งออกได้ เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์แปรรูปที่หลากหลายซึ่งส่วนใหญ่จะมี

                  ส่วนประกอบของสมุนไพรชนิดอื่นด้วย ดังนั้น จึงไม่มีการแยกพิกัดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากขมิ้นชันออกมา
                  เป็นระบบฮาร์โมไนซ์ได้ ประกอบกับในการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปจากขมิ้นชันยังมีอุปสรรคทางการค้า
                  เช่น ความยุ่งยากในการขึ้นทะเบียน มาตรฐานผลิตภัณฑ์ ใบอนุญาตจัดจ าหน่าย ความรู้ความเข้าใจของ
                  ผู้บริโภคในต่างประเทศเกี่ยวกับสรรพคุณทางยาของขมิ้นชัน รวมถึงข้อก าหนดเฉพาะของแต่ละประเทศ

                  เช่น ประเทศอินโดนีเซียก าหนดให้ประเทศผู้ส่งออกต้องผ่านตัวแทนโรงงานผู้ผลิตยาท้องถิ่น และต้อง
                  ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้โรงงานผู้ผลิตยาท้องถิ่นสามารถผลิตยาเองได้เมื่ออายุทะเบียนยาหมดไป หรือ
                  เลือกตั้งโรงงานผลิตยาในประเทศนั้นๆ
                        เมื่อพิจารณาการน าเข้าขมิ้นชันของไทย พบว่า ปี 2559 ได้น าเข้าขมิ้นชันแห้งคิดเป็นมูลค่า

                  8,358,442.00 บาท โดยน าเข้าจากประเทศเมียนมามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 56.29 รองลงมา ได้แก่ อินเดีย
                  เนเธอร์แลนด์ และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.67, 3.34 และ1.30 ตามล าดับ (ตารางที่ 2-8)

                        2.6.2 ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ขมิ นชันและผลิตภัณฑ์แปรรูป
                            ห่วงโซ่อุปทานของขมิ้นชันและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากขมิ้นชัน จะเชื่อมโยง คือ ขั้นต้นน้ า
                  (Upstream) ขั้นกลางน้ า (Midstream) และขั้นปลายน้ า (Downstream) ดังนี้

                              1) ขั นต้นน ้า (Upstream)
                                ผลิตภัณฑ์ในขั้นต้นน้ า ได้แก่ ขมิ้นสด และขมิ้นแห้ง ปริมาณการผลิตขมิ้นชันสด
                  ปี 2559 ประมาณ 3,826 ตัน ผู้ผลิตในขั้นต้นน้ า คือ เกษตรกร จ านวน 1,505ครัวเรือน โดยการบริโภค
                  ขมิ้นชันในขั้นต้นน้ า สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

                                (1) ขมิ นชันสด มีปริมาณการผลิตร้อยละ 5 ของผลผลิตในขั้นต้นน้ า ซึ่งใช้บริโภค
                  ภายในประเทศทั้งหมด แบ่งเป็นใช้บริโภคในครัวเรือนและท าพันธุ์ร้อยละ 80 และใช้เป็นส่วนประกอบของ
                  อาหารสัตว์ร้อยละ 20

                                (2) ขมิ นชันแห้ง มีปริมาณการผลิตร้อยละ 95 ของผลผลิตในขั้นต้นน้ า ซึ่งใช้บริโภค
                  ภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 98 โดยพ่อค้ารวบรวมและกระจายสินค้าต่อให้กับผู้แปรรูปหรือ
                  โรงงานแปรรูปขั้นต้น คิดเป็นร้อยละ 98 และบางส่วนส่งออกต่างประเทศ ร้อยละ 2 โดยส่งออกไป
                  สหรัฐอเมริกา ลาว และเยอรมนี ร้อยละ 40 15 และ 10 ตามล าดับ









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน                    กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52