Page 30 - การใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เสี่ยง การเป็นดินกรดและดินเค็ม ภาคกลางของประเทศไทย
P. 30

24






                       ประจุบวกได้สูงจึงมีผลท าให้ดินที่มีอินทรียวัตถุสูง มีความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของความเป็นกรดเป็นด่าง
                       ได้ดี และเป็นแหล่งส ารองธาตุอาหารขนาดใหญ่ โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน และหลังจากถูกย่อยสลายโดยกิจกรรม
                       ของจุลินทรีย์จะปลดปล่อยธาตุอาหารเกือบทุกชนิดออกมาสะสมอยู่ในดิน ซึ่งจากการวิเคราะห์สารประกอบส่วนที่
                       เป็นคาร์บอนของอินทรียวัตถุในดินพบว่าโดยทั่วไปประกอบด้วย สารประกอบพวกคาร์โบไฮเดรต 10-20

                       เปอร์เซ็นต์ สารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ เช่น กรดอะนิโม และ น้ าตาลอะมิโน ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์
                       สารประกอบกรดไขมันประเภทอะลิฟาติก 10-20 เปอร์เซ็นต์ และ ส่วนที่เหลือคือ สารประกอบประเภทระเหยได้
                       ทั้งนี้อินทรียวัตถุในดินแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนที่เป็นสารฮิวมิก (humic substance) กับส่วนที่
                       ไม่ใช่สารฮิวมิก (non-humic substance) สารฮิวมิกเป็นส่วนที่มีโครงสร้างซับซ้อนและคงทนต่อการย่อยสลาย

                       โดยจุลินทรีย์ โครงสร้างหลักประกอบด้วยสารประกอบประเภทระเหยได้เป็นแกน จึงท าให้สารฮิวมิกสลายตัวได้
                       ยาก บางส่วนของฮิวมิกมีสารประกอบประเภทโปรตีน เพปไทด์ กรดอะมิโน และ โพลีแซกคาไรด์ เข้ามาเกาะใน
                       โมเลกุล ในขณะที่ส่วนที่ไม่ใช่สารฮิวมิกนั้นเป็นสารประกอบประเภทที่มีโครงสร้างของโมเลกุลไม่ซับซ้อน
                       ย่อยสลายได้ง่ายกว่า เช่น คาร์โบไฮเดรต ไลปิด โปรตีน กรดอะมิโน และ กรดอินทรีย์ เป็นต้น สารประกอบเหล่านี้

                       ปกติจะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายได้โดยง่าย แต่ที่ยังคงพบว่ามีอยู่ในดินในปริมาณค่อนข้างมากนั้นเนื่องจากว่าสาร
                       เหล่านั้นส่วนใหญ่เกาะยึดอยู่กับอนุภาคของดิน หรือท าปฏิกิริยากับแคตไอออนของโลหะบางชนิด เช่น เหล็ก
                       อะลูมิเนียม หรือ ทองแดง หรือเข้าไปเป็นสารเชื่อมเม็ดดินซึ่งมีผลให้เม็ดดินสลายตัวได้ยากขึ้น ท าให้อินทรียวัตถุ

                       ในดินมีส่วนในการเชื่อมและยึดเม็ดดินให้เกาะกันส่งผลให้ดินทนทานต่อการสลายตัวและท าให้การกร่อนของดิน
                       เกิดได้ยากขึ้นนั้น ถ้าหากจะมีการพิจารณาถึงสมบัติโดยทั่วไปของอินทรียวัตถุในดินร่วมไปด้วยแล้วจะท าให้เกิด
                       ความเข้าใจในบทบาทของอินทรียวัตถุในแง่ทีเกี่ยวข้องกับการช่วยปรับโครงสร้างด้านต่าง ๆ ของดิน ซึ่งส่งผลให้
                       ดินมีความทนทานต่อปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการกร่อนของดิน และในแง่ของคุณสมบัติของอินทรียวัตถุที่มีผลใน
                       การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ซึ่งการจัดระดับความเป็นประโยชน์ของอินทรียวัตถุในดินโดย บรรเจิด พลางกูร

                       (2543) แบ่งได้ 7 ระดับ โดยดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุน้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์เป็นดินที่มีระดับอินทรียวัตถุต่ ามาก
                       และดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุมากกว่า 4.5 เปอร์เซ็นต์เป็นดินที่มีระดับอินทรียวัตถุสูงมาก (ตารางที่ 9)

                       ตารางที่ 9 การจัดระดับความเป็นประโยชน์ของอินทรียวัตถุ
                                 ปริมาณอินทรียวัตถุ (%)                          ระดับ (OM)

                                         < 0.5                                     ต่ ามาก
                                        0.5-1.0                                      ต่ า
                                        1.0-1.5                                   ค่อนข้างต่ า

                                        1.5-2.5                                   ปานกลาง
                                        2.5-3.5                                   ค่อนข้างสูง
                                        3.5-4.5                                      สูง

                                         >4.5                                      สูงมาก
                       ที่มา : จาก ทรัพยากรดิน (น.12), โดย บรรเจิด พลางกูร ,2543 อ้างอิงใน
                               ส านักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน (2547)
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35