Page 32 - การใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เสี่ยง การเป็นดินกรดและดินเค็ม ภาคกลางของประเทศไทย
P. 32
26
ภาพที่ 4 ค่าลายเซ็นต์เชิงคลื่นของพืชเมื่อระดับความชื้นของดินต่างกัน
ที่มา: Philpot (2010)
การใช้ข้อมูลจากเทคโนโลยีการส ารวจระยะไกลส าหรับประเมินการเสื่อมโทรมของดินใน
ระยะยาวได้ถูกน ามาใช้เพื่อก าหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์ดินและน้ าเพิ่มมากขึ้น วิธีการนี้ถูกน ามาใช้
รวมถึงการสุ่มเก็บตัวอย่างภาคสนาม การวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ และการสร้างแบบจ าลองการ
คาดการณ์สมบัติดิน เช่น
Glowienka et al. (2016) วิเคราะห์เชิงพื้นที่และเชิงเวลาในการกระจายความเค็มของ
ดินและระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ในโปแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2538, 2543, 2548 และ
2010 โดยการวิเคราะห์ข้อมูลการส ารวจระยะไกล ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่าความเค็มของดินและระดับ
pH มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเช่นเดียวกับ โพแทสเซียม(K) และโซเดียม (Na) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในภาคเหนือและภาคใต้ของพื้นที่ที่ตรวจสอบ สาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น
อาจเป็นเพราะน้ าท่วมซึ่งกระทบภูมิภาคในเดือนมิถุนายน 2010
Vaudour et al. (2019) ศึกษาการใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 โดยการค านวณ
ดัชนี NDVI ในการประมาณค่าสมบัติดินของชั้นดินบนในเขตเขตอบอุ่น และในแถบเมดิเตอเรเนียน
ได้แก่ ปริมาณอนุภาคดินเหนียว ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ปริมาณอินทรียวัตถุ และค่าความสามารถ
ในการแลกเปลี่ยนประจุบวก โดยใช้สมการ partial least squares regressions (PLSR) พบว่าการใช้
2
ดัชนี NDVI มีความสัมพันธ์กับปริมาณอนุภาคดินเหนียวที่ค่า r เท่ากับ 0.39 ถึง 0.42 ความเป็นกรดเป็น
2
2
ด่าง ที่ค่า r เท่ากับ 0.08 ถึง 0.51 ปริมาณอินทรียวัตถุค่า r เท่ากับ 0.04 ถึง 0.09 และค่าความสามารถใน
การแลกเปลี่ยนประจุบวก ที่ค่า r เท่ากับ 0.13 ถึง 0.48
2