Page 33 - การใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เสี่ยง การเป็นดินกรดและดินเค็ม ภาคกลางของประเทศไทย
P. 33

27






                                      Taghadosi et al. (2019) ประเมินความเค็มของดินโดยการท าแผนที่ค่าการน าไฟฟ้า
                       ของดิน โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมจากดาวเทียม Sentinel 2 และข้อมูล Landsat 8 การศึกษาภาคสนาม
                       ได้ด าเนินการโดยใช้ข้อมูลเหล่านั้น และได้สกัดคุณลักษณะต่างๆ ของเกลือซึ่งสัมพันธ์กับค่าการน าไฟฟ้า
                       ของดินของตัวอย่างภาคสนามกับคุณลักษณะของเกลือที่ได้รับจากดาวเทียม การศึกษาใช้สมการ

                       regression 2 แบบ ได้แก่ Multi-Layer Perceptron (MLP) และ Support Vector (SV) การศึกษา
                       สรุปว่าวิธีการที่เสนอส าหรับแบบจ าลองความเค็มและการท าแผนที่ของค่าการน าไฟฟ้าของดินถือเป็น
                       แนวทางที่มีประสิทธิผลส าหรับการตรวจสอบความเค็มของดิน
                                     Elhag and Bahrawi (2016) ใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8 ท าแผนที่ความ

                       เค็มของดินโดยใช้ดัชนีพืชพรรณชนิดต่างๆ พบว่า ดัชนี NDVI มีความสัมพันธ์กับความเค็มสูงที่สุด
                       รองลงมา คือ ดัชนี Soil Adjusted Vegetation Index (SAVI) และ Water Supply Vegetation Index
                       (WSVI) ตามล าดับ
                              3.2.2 การใช้ดัชนีพืชพรรณเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                                   ปัจจุบันได้มีการน าเทคโนโลยีการส ารวจขอมูลระยะไกลมาประยุกต์ใช้เพื่อศึกษาการ
                       เจริญเติบโตของพืชเพิ่มมากขึ้น โดยใช้ความแตกตางของค่าการสะทอนและการดูดซับพลังงานของพืช
                       ในช่วงคลื่นต่างๆ ที่แตกต่างกันเพื่อหาอัตราสวน  (Band  Ratio) ของพลังงานแมเหล็กไฟฟาซึ่งเรียกว่า ดัชนี

                       พืชพรรณ (Vegetation Indices) ซึ่งค่าที่น ามาค านวณนี้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
                       จากดวงอาทิตย์กับพืชพรรณที่สะท้อนปริมาณแสงตกกระทบในพื้นที่เพาะปลูกพืชในสัดส่วนที่แตกต่างกัน
                       ในช่วงเวลาที่ต่างกัน ดัชนีพืชพรรณถูกสร้างขึ้นเพื่อปรับเน้นข้อมูลใหมีความเหมาะสมตอการใชงาน หรือ
                       เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของขอมูลใหแสดงความชัดเจนในสิ่งที่ท าการศึกษามากขึ้น ซึ่งสามารถบ่งบอกถึง
                       สัดส่วนของพืชพรรณที่ปกคลุมพื้นผิว สถานะของพืชรวมถึงสภาพความแข็งแรงและความผิดปกติของพืช

                       นั้นในพื้นที่แปลงปลูกพืช โดยทั่วไปค่าดัชนีพืชพรรณ (VI) สามารถประยุกต์ วิธีการค านวณไปตาม
                       วัตถุประสงค์ของการใช้งานได้อย่างหลากหลาย ตัวอย่างเช่น ดัชนีความต่างของพืชพรรณ (normalized
                       difference vegetation index:NDVI) (Rouse et al., 1974; Thompson et al., 2015) ดัชนีความต่างของ

                       พืชพรรณด้วยช่วงคลื่นแสงสีเขียว (green normalized difference vegetation index: GNDVI)
                       (Gitelson et al., 1996) และ ดัชนีความต่างของคลื่นอินฟราเรด (Normalized Difference Infrared
                       Index:NDII) (Hunt and Rock, 1989) เป็นต้น (ตารางที่ 10) สามารถน ามาใช้เพื่อตรวจสอบสถานะการ
                       เจริญเติบโตของพืชตามเวลาจริง การท านายหรือประเมินคุณลักษณะของพืช เช่น พื้นที่ใบ มวลชีวภาพ

                       ความสมบูรณของพืชและความหนาแนนของพืชซึ่งจะเป็นประโยชน์ในแง่มุมต่างๆ เช่น เพื่อวัดสถานะของ
                       ต้นกล้า (ก่อนและระหว่างขั้นตอนการปลูก) เพื่อปรับใช้เทคนิคการจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อ
                       ความอยู่รอดและผลผลิตของพืช หรือเพื่อส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมากขึ้น การประยุกต์ใช้ดัชนีพืช
                       พรรณที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับภัยแล้ง และ

                       เหตุการณ์รุนแรง เช่น คลื่นความร้อนซึ่งเริ่มเข้าสู่ภูมิภาคที่ขณะนี้ประสบปัญหาภัยแล้ง เป็นต้น (ชรัตน, 2540)
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38