Page 89 - Lamphun
P. 89

5-7





                                          รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ

                                          - ยึดรูปแบบและแนวทางการพัฒนาในเขตท านา
                                          - ศึกษา วิจัยระบบการท าฟาร์ม (Farming system research) ระบบการปลูกพืช
                  หรือระบบเกษตรแบบผสมผสาน โดยน าเทคโนโลยีที่ได้ผลดีในสถานีทดลอง ไปทดสอบหาความเหมาะสม
                  ในไร่นาของเกษตรกรตามสภาพท้องถิ่น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินจากการปลูกพืชชนิดเดียว

                  เป็นการปลูกพืชหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน
                                    2.3) เขตพื้นที่พืชเศรษฐกิจเพื่อการแข่งขัน (สัญลักษณ์แผนที่ 223) เป็นเขตพืชเศรษฐกิจ
                  เชิงเดี่ยวที่ปลูกในพื้นที่มีความเหมาะสม เน้นการผลิตเพื่อการส่งออกและแข่งขันกับต่างประเทศ มีเนื้อที่
                  262,960 ไร่ หรือร้อยละ 9.34 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่ในเขตนี้ส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงลูกคลื่น
                  ลอนลาด ดินลึกปานกลางถึงลึก โดยจ าแนกเขตย่อยได้ดังนี้

                                          - เขตปลูกมะม่วง มีเนื้อที่ 29,335 ไร่ หรือร้อยละ 1.04 ของเนื้อที่จังหวัด
                                          - เขตปลูกล ำไย มีเนื้อที่ 218,517 ไร่ หรือร้อยละ 7.76 ของเนื้อที่จังหวัด
                                          - เขตปลูกพืชผัก มีเนื้อที่ 4,093 ไร่ หรือร้อยละ 0.15 ของเนื้อที่จังหวัด

                                          - เขตปลูกไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ 11,015 ไร่ หรือร้อยละ 0.39 ของเนื้อที่จังหวัด
                                          รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ
                                          - พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกไม้ผล พืชผักต่างๆ และไม้ยืนต้น ควรจัดหาตลาดรองรับ
                                          - แนวทางการจัดการในสภาพพื้นที่ที่มีความลาดชัน ควรมีระบบอนุรักษ์ดินและน้ าเพื่อ
                  ช่วยเก็บกักความชื้นและรักษาสภาพแวดล้อมให้มีความสมดุล มีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในกระบวนการ

                  ผลิต เพื่อให้เกิดผลดีต่อพืช ที่ดินและสิ่งแวดล้อมโดยรวม
                                          - ส่งเสริมการท าการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกรรายย่อย
                  บางบริเวณพื้นที่ค่อนข้างลุ่มควรท าทางระบายน้ าไม่ให้ท่วมขังในฤดูฝน
                                          - ปรับปรุงบ ารุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ให้
                  ถูกต้องตามลักษณะดิน ในช่วงดินมีความชื้นเหมาะสมควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว เพื่อเพิ่ม

                  อินทรียวัตถุแก่ดิน
                                          - จัดสร้างแหล่งน้ าในไร่นาเพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะแล้งอันจะกระทบต่อปริมาณ
                  ผลผลิต
                                (3) เขตพื้นที่เกษตรกรรมมีศักยภาพในการผลิตต่ า
                                    เป็นพื้นที่ท าการเกษตรโดยอาศัยน้ าฝนเป็นหลัก ดินมีศักยภาพในการผลิตเล็กน้อยหรือไม่

                  เหมาะสมส าหรับการปลูกพืช หรือมีข้อจ ากัดของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งถ้าหากมีการน าพื้นที่
                  มาใช้ประโยชน์จะต้องมีการแก้ไขปัญหาที่มีข้อจ ากัดรุนแรงของการใช้ที่ดินนั้นๆ ซึ่งยากต่อการแก้ไขหรือ
                  ต้องใช้เงินทุนสูง เช่น ปัญหาดินเป็นทรายจัดหรือดินค่อนข้างเป็นทราย ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการ

                  อุ้มน้ าที่เป็นประโยชน์ต่อพืชต่ ารวมถึงการที่ดินมีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ า หรือปัญหาดินตื้นซึ่งเป็น
                  อุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช สภาพพื้นที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดิน ดังนั้นการใช้ประโยชน์
                  ที่ดินในบริเวณนี้จึงจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาหรือปรับปรุง และมีมาตรการเฉพาะเพื่อเพิ่ม
                  ผลผลิตให้สูงขึ้น รวมถึงต้องมีมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม เพื่อป้องกันมิให้เกิดความ
                  เสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่เขตนี้สามารถแบ่งย่อยตามสภาพการใช้ที่ดินได้ 2 เขตย่อย ดังนี้
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94