Page 92 - Lamphun
P. 92

5-10





                                    รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ

                                    - ต้องปฏิบัติตามนโยบายด้านการใช้พื้นที่เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าอย่างเข้มงวด
                  เนื่องจากกิจกรรมนี้อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียง
                                    - ควรก าหนดเขตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าให้ชัดเจนเพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิด

                  ผลกระทบต่อระบบนิเวศ
                        5.1.3 เขตชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง (สัญลักษณ์แผนที่ 3)
                                มีเนื้อที่ 139,858 ไร่ หรือร้อยละ 4.97 ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วยเขตชุมชนเมือง
                  ชุมชนชนบท สถานที่ราชการ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ระบบโครงข่ายคมนาคมและสถานที่ที่เกิดจาก
                  การกิจกรรมของชุมชน (ที่ทิ้งขยะ) จ าแนกตามข้อมูลจากการส ารวจสภาพการใช้ที่ดินจังหวัดล าพูน

                  จากการส ารวจประกอบกับภาพถ่ายทางอากาศและค านวณเนื้อที่ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ของ
                  ส่วนวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2563)
                        5.1.4 เขตอุตสาหกรรม

                                มีเนื้อที่ 18,248 ไร่ หรือร้อยละ 0.64 ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วยเขตพัฒนา
                  อุตสาหกรรม (สัญลักษณ์แผนที่ 41) ประกอบด้วยพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม ลานตากและแหล่งรับ
                  ซื้อทางการเกษตร) และเขตอุตสาหกรรมเหมืองแร่/บ่อดิน (สัญลักษณ์แผนที่ 42) ประกอบด้วย
                  พื้นที่เหมืองแร่ บ่อขุด บ่อดิน บ่อลูกรัง

                        5.1.5 พื้นที่แหล่งน้ า
                                มีเนื้อที่ 38,025 ไร่ หรือร้อยละ 1.35 ของเนื้อที่จังหวัด เขตนี้ก าหนดจากแหล่งน้ าธรรมชาติ
                  (สัญลักษณ์แผนที่ 51) ได้แก่ แม่น้ า ล าคลอง หนอง บึงต่างๆ และแหล่งน้ าที่สร้างขึ้น (สัญลักษณ์แผนที่ 52)
                  ได้แก่ อ่างเก็บน้ าและบ่อน้ า แหล่งน้ าเหล่านี้ใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านเก็บกักน้ าเพื่อการอุปโภคบริโภค

                  และใช้ในด้านเกษตรกรรม ตลอดจนเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติและแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าของชุมชน
                                รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการควรดูแลรักษาแหล่งน้ าธรรมชาติและแหล่งน้ า
                  ที่สร้างขึ้นไม่ให้เสื่อมโทรมทั้งด้านคุณภาพของน้ าและการกักเก็บน้ า ไม่ปล่อยให้ล าน้ าตื้นเขินและถูกบุกรุก
                  หมั่นขุดลอกคูคลอง ไม่ทิ้งขยะหรือปล่อยน้ าเสียลงในแหล่งน้ า เร่งรัดพัฒนาแหล่งน้ าขนาดเล็ก

                  ให้กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเพาะปลูกในช่วงขาดน้ า
                        5.1.6 เขตรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม (สัญลักษณ์แผนที่ 6)
                                มีเนื้อที่ 96,774 ไร่ หรือร้อยละ 3.44 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่ในเขตนี้มีสภาพเป็นป่า

                  ที่ค่อนข้างสมบูรณ์แต่อยู่นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่ที่ได้รับการประกาศให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่ง
                  ปัจจุบันมีสภาพพื้นที่เป็นป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ า และพื้นที่อื่นๆ เช่น ไม้ละเมาะ เป็นต้น
                                รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ
                                - ควรมีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยยึดหลักการใช้ที่ดินแบบผสมผสานระหว่างป่าไม้กับ
                  การเกษตร

                                - ควรป้องกันและรักษาสภาพป่าไม้ให้คงความสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ โดย
                  ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากไม้และของป่าร่วมกันอย่างพอเพียงและยั่งยืน
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97