Page 93 - Lamphun
P. 93

5-11





                  5.2  แนวทางการขับเคลื่อนแผนการใช้ที่ดินสู่การปฏิบัติ

                        การจัดท าแผนการใช้ที่ดินจังหวัดล าพูน เป็นการวิเคราะห์ฐานข้อมูลด้านต่างๆ โดยพิจารณา
                  ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ สภาพภูมิประเทศ การใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน ลักษณะดินตาม
                  ศักยภาพของพื้นที่ในการท าการเกษตร ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ใน

                  เขตป่าสงวนแห่งชาติ รวมถึงพื้นที่ภายใต้ข้อก าหนดที่ต้องสงวนพื้นที่ไว้เพื่อการอนุรักษ์ ดังนั้นการจะ
                  ขับเคลื่อนแผนการใช้ที่ดินไปสู่การปฏิบัติให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมนั้น เจ้าหน้าที่
                  ซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่ ควรน าร่างแผนการใช้ที่ดินไปพิจารณาหาข้อสรุปร่วมกันระหว่างชุมชน และ
                  หน่วยงานในพื้นที่ หรือองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความเห็นชอบร่วมกัน อีกทั้งยังช่วยลดปัญหา
                  ความขัดแย้งเรื่องการใช้ประโยชน์พื้นที่ระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐ และเมื่อได้ข้อสรุปแนวทาง

                  การใช้ประโยชน์ที่ดินแล้วจึงน าข้อสรุปดังกล่าวไปปรับปรุง และจัดท าแผนการใช้ที่ดินตามผลสรุปและ
                  ข้อเสนอแนะ นอกจากนี้แผนการใช้ที่ดินยังสามารถไปเป็นกรอบในการก าหนดกิจกรรมและงบประมาณ
                  ในการพัฒนาพื้นที่ ของส่วนราชการ/หน่วยงานต่างๆ เพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ได้อย่าง

                  มีประสิทธิภาพ
                        ซึ่งจากการวิเคราะห์ พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าไม้ตามกฎหมาย โดยเขตที่ต้องเร่งด าเนินการ
                  จัดการพื้นที่ เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูเป็นอันดับแรก ได้แก่ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ และพื้นที่เกษตรกรรมที่มี
                  แนวโน้มของการชะล้างพังทลายสูง ตามล าดับ เนื่องจากในบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง

                  และบางบริเวณเป็นดินตื้นถึงลึกปานกลางซึ่งไม่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรม จึงควรแนะน าให้เกษตรกร
                  ที่ใช้พื้นที่ในบริเวณดังกล่าวเปลี่ยนรูปแบบการท าเกษตรจากที่เคยปลูกพืชไร่ หรือท าไร่หมุนเวียนมาเป็น
                  การใช้พื้นที่เพื่อการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น และท าเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทางเกษตรพอเพียง
                  รวมถึงการให้ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต เพื่อเพิ่มรายได้จากการเกษตรกรรม โดยไม่ต้อง

                  ขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่ม และปลูกจิตส านึกให้เกษตรกรในพื้นที่มีความรักและห่วงแหนพื้นที่ป่าไม้

                  5.3  สรุปและข้อเสนอแนะ
                        สรุป
                        การจัดท าแผนการใช้ที่ดินในพื้นที่เป็นการก าหนดเขตโดยพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพ

                  ของพื้นที่ การใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน ทรัพยากรดินตามศักยภาพของพื้นที่ตลอดจนความเหมาะสม
                  ในการเพาะปลูก และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
                  รวมถึงพื้นที่ภายใต้ข้อก าหนดที่ต้องสงวนพื้นที่ไว้เพื่อการอนุรักษ์ ดังนั้นการน าแผนการใช้ที่ดินไปสู่
                  การปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนในพื้นที่จึงควรน าแผนการใช้
                  ที่ดินดังกล่าวไปพิจารณาและร่วมด าเนินการจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีความสอดคล้องกันทั้ง

                  ระบบเพื่อการบริหารการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องตามหลักวิชาการ อีกทั้งยังช่วย
                  ลดปัญหาความขัดแย้งในเรื่องการใช้ประโยชน์พื้นที่ได้ โดยเขตที่ควรเร่งด าเนินการพัฒนาพื้นที่เป็นอันดับ
                  ต้นๆ ได้แก่ เขตพื้นที่เกษตรกรรมมีศักยภาพในการผลิตสูง เนื่องจากในบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มี

                  ความเหมาะสมในการเพาะปลูกปานกลางถึงสูง และเป็นบริเวณที่มีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อเพิ่ม
                  ปริมาณและคุณภาพผลผลิตได้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรประสานงานเพื่อจัดหาแหล่งน้ าเพื่อ
                  การเกษตร และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิต
                  และลดต้นทุนการผลิต ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98