Page 95 - Lamphun
P. 95

5-13





                  ประเภทต่างๆ ให้รองรับและสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงมีความจ าเป็นต้องมีมาตรการต่างๆ รองรับ

                  เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติดังนี้
                            (1) ปรับเปลี่ยนระบบผลิตทางการเกษตรตามศักยภาพพื้นที่และความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ
                  เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน รวมทั้งปรับปรุงบ ารุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้

                  สูงขึ้น ตามแนวทางจากพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 เนื่องจากในปัจจุบันพื้นที่เกษตรกรรม
                  ของไทยประสบปัญหาความเสื่อมโทรมขาดการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม
                            (2) ปรับปรุงและฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อเกษตรกรรมแนวทางด าเนินการตาม
                  พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของดินรวมทั้งเป็นการ
                  เพิ่มผลผลิตการเกษตรให้สูงขึ้นเพราะในสภาวการณ์ปัจจุบันพื้นที่เกษตรกรรมของไทยประสบปัญหาความ
                  เสื่อมโทรมของดินเพราะขาดการอนุรักษ์ดินและน้ าท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินตลอดจนดินขาด
                  ความอุดมสมบูรณ์ไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว

                            (3) ควรส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้เกษตรกรด าเนินการผลิตตามระบบเกษตรที่ดี
                  โดยการอบรมแนะน าความรู้ต่างๆ ผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เช่น
                  วิธีการปลูกการใส่ปุ๋ยการจัดการการดูแลรักษาการเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวให้มีความ
                  เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ในเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจอย่างครบวงจรและให้ความรู้ความเข้าใจด้าน
                  การบริหารจัดการพื้นที่ที่เหมาะสมส าหรับการเกษตรเชิงรุกตามแผนที่โซนนิงภาคการเกษตร
                            (4) ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่เหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดภาระทางการเงินการคลัง

                  ของภาครัฐ โดยจัดให้มีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มรายได้และลดต้นทุนการเกษตรครบวงจรตั้งแต่การ
                  ปรับโครงสร้างต้นทุนการผลิต อาทิ เมล็ดพันธุ์ พื้นที่เพาะปลูก ปุ๋ย เครื่องจักรกลและอุปกรณ์การเกษตร
                  แหล่งน้ า และระบบไฟฟ้าเพื่อการเกษตร ลดภาระหนี้สินโดยให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบที่มี
                  ต้นทุนต่ า การลดความเสี่ยงจากราคาพืชผลทางการเกษตร การพัฒนาทักษะอาชีพเสริมรายได้ รวมทั้ง
                  การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต และการปรับเปลี่ยนการผลิตให้เหมาะสมกับฐาน
                  ทรัพยากรในพื้นที่และความต้องการของตลาด น าระบบสารข้อมูลสารสนเทศการเกษตร ระบบแผนที่
                  เกษตรเพื่อการจัดการเขตพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) และส่งเสริมกลไกอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน รวมทั้ง

                  ระบบการบริหารจัดการเชิงรุกมาใช้ในการบริหารจัดการการผลิตสินค้าการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่
                            (5) ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรเพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้กับ
                  เกษตรกร โดยใช้ประโยชน์จากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ การลด ละ เลิก ใช้ยาปราบศัตรูพืช
                  โดยเร็ว โดยต้องจัดหาสารทดแทนที่มีประสิทธิภาพเพียงพอและเป็นที่ยอมรับของเกษตรกร การส่งเสริม
                  การผลิตสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มและโอกาสทางเศรษฐกิจ อาทิ เกษตรอินทรีย์ เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น
                  เกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ และเกษตรแปรรูปเพื่อต่อยอดสู่เกษตรอุตสาหกรรมส่งเสริมการวิจัย

                  พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีในการพัฒนาสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ รวมทั้งส่งเสริมการผลิตสินค้า
                  เกษตรให้ได้คุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย
                            (6) ควรส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงบ ารุงดินโดยเน้นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเป็นหลัก รณรงค์
                  ให้มีการใช้ปุ๋ยหมัก น้ าหมักชีวภาพ พด.2 พืชปุ๋ยสด รวมทั้งการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
                  โดยการปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืชขวางความลาดเท ปลูกพืชสลับกับแนวหญ้าแฝก และเพิ่มมาตรการอื่นๆ

                  ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่รวมทั้งสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรอย่างครบวงจร โดยเน้น
                  ในพื้นที่เขตการใช้ที่ดินที่จ าเป็นต้องเพิ่มมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100