Page 88 - Lamphun
P. 88

5-6





                                          - ส่งเสริมการท าการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกรรายย่อย

                  บางบริเวณพื้นที่ค่อนข้างลุ่มควรท าทางระบายน้ าไม่ให้ท่วมขังในฤดูฝน
                                    1.3) เขตปลูกไม้ยืนต้น (สัญลักษณ์แผนที่ 214) มีเนื้อที่ 2,089 ไร่ หรือร้อยละ 0.07ของ
                  เนื้อที่จังหวัด สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ดินร่วนปนทรายถึงร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ความ
                  อุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ าถึงต่ า ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปลูกไม้ยืนต้น เช่น ยูคาลิปตัส สัก
                  ปาล์มน้ ามัน ยางพารา และจามจุรี เป็นต้น

                                          รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ
                                          - ปรับปรุงบ ารุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์
                  ให้ถูกต้องตามลักษณะดิน ในช่วงดินมีความชื้นเหมาะสมควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว เพื่อเพิ่ม
                  อินทรียวัตถุแก่ดิน
                                          - จัดสร้างแหล่งน้ าในไร่นาเพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะแล้งอันจะกระทบ
                  ต่อปริมาณผลผลิต

                                (2) เขตพื้นที่เกษตรกรรมมีศักยภาพในการผลิตสูง
                                    เป็นเขตอาศัยน้ าฝนอยู่นอกเขตชลประทาน ศักยภาพทางการเกษตรปานกลางมีความ
                  เหมาะสมปานกลางถึงสูงส าหรับการท านา ปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้นแต่อาจมีข้อจ ากัดของการใช้

                  ประโยชน์ที่ดินบางประการที่สามารถแก้ไขได้ง่าย บางพื้นที่มีแหล่งน้ าเพียงพออาจมีการใช้พื้นที่เพื่อการ
                  ปลูกพืชผัก หรือไม้ผลได้ พื้นที่ท าการเกษตรในเขตนี้จะมีเนื้อที่มากที่สุดของจังหวัด และเป็นพื้นที่ส าคัญ
                  ในการผลิตพืชเศรษฐกิจ พื้นที่เขตนี้สามารถแบ่งเป็น 3 เขตย่อย ตามศักยภาพและความเหมาะสมของ
                  การใช้ประโยชน์ที่ดินดังนี้

                                    2.1) เขตท านา (สัญลักษณ์แผนที่ 221) มีเนื้อที่ 26,318 ไร่ หรือร้อยละ 0.93 ของเนื้อที่
                  จังหวัด สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย เนื้อดินเป็นดินร่วนปน
                  ดินเหนียวถึงดินร่วนปนทราย ที่ดินมีความเหมาะสมปานกลางถึงสูงในการท านาโดยอาศัยน้ าฝน
                                          รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ ในการใช้พื้นที่เพื่อการท านาควรมีการ

                  เพิ่มศักยภาพการผลิตด้วยการพัฒนาแหล่งน้ า เช่น บ่อน้ าในไร่นา เพื่อเก็บกักน้ าส าหรับปลูกพืช
                  ลดความเสียหายกรณีฝนทิ้งช่วง และเพิ่มศักยภาพการผลิตด้วยการใช้พันธุ์ดีจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้
                  ประกอบกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพควบคู่กับการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสม หรืออาจท า
                  เกษตรแบบเกษตรผสมผสานตามแนวทางทฤษฎีใหม่ โดยการขุดบ่อน้ าเลี้ยงปลา ยกร่องปลูกผัก ไม้ผล

                  ไม้ยืนต้น และนาข้าวร่วมกัน
                                    2.2) เขตพื้นที่พืชไร่เพื่ออุตสาหกรรม (สัญลักษณ์แผนที่ 222) เขตนี้เป็นเขตที่มีการ
                  ปลูกพืช เพื่อรองรับภาคธุรกิจและรักษาระดับราคาผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะพืชที่ต้องพึ่งพาการ

                  แปรรูป มีเนื้อที่ 31,628 ไร่ หรือร้อยละ 1.12 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่ในเขตนี้ส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่
                  ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาด เป็นพื้นที่ดอนมีความเหมาะสมของดินในการปลูกพืชไร่
                  ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันส าปะหลัง
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93