Page 87 - Lamphun
P. 87

5-5





                  เหมาะสมของที่ดินเป็นหลัก เพื่อให้มีผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุน เขตคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม

                  มีเนื้อที่รวม 598,537 ไร่ หรือร้อยละ 21.26 ของเนื้อที่จังหวัด โดยสามารถแบ่งออกเป็น 6 เขตย่อย คือ
                                (1) เขตพื้นที่เกษตรกรรมชั้นดี
                                    เขตพื้นที่เกษตรกรรมชั้นดีมีเนื้อที่ 106,366 ไร่ หรือร้อยละ 3.78 ของเนื้อที่จังหวัด

                  เขตนี้เป็นพื้นที่ท าการเกษตรที่มีระบบชลประทาน ดินมีศักยภาพในการผลิตปานกลางถึงสูงแต่อาจมี
                  ข้อจ ากัดของการใช้ประโยชน์ที่ดินบางประการที่สามารถแก้ไขได้ง่าย บางพื้นที่มีแหล่งน้ าเพียงพออาจมี
                  การใช้พื้นที่เพื่อการปลูกพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ หรือพืชอายุสั้นหลังฤดูท านาได้ พื้นที่เขตนี้เป็นพื้นที่
                  ส าคัญในการผลิตพืชเศรษฐกิจ พื้นที่เขตนี้สามารถแบ่งเป็น 4 เขตย่อย ตามศักยภาพและความเหมาะสม
                  ของการใช้ประโยชน์ที่ดินดังนี้

                                    พื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตรสูงมีความเหมาะสมสูงส าหรับการท านา ปลูกพืชไร่ ไม้ผล
                  ไม้ยืนต้น ให้ผลผลิตสูง มีระบบชลประทาน หรือเป็นเขตจัดรูปที่ดิน (เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมเล็กน้อยแต่
                  อยู่ในเขตชลประทาน)ให้มีการใช้ที่ดินเฉพาะเพื่อการเกษตรอย่างเข้มงวด ไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปท า

                  กิจกรรมประเภทอื่นที่จะท าให้สภาพการเกษตรเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง เช่น หมู่บ้านจัดสรร โรงงาน
                  อุตสาหกรรม
                                    1.1) เขตท านา (สัญลักษณ์แผนที่ 211) มีเนื้อที่ 64,666 ไร่ หรือร้อยละ 2.30 ของ
                  เนื้อที่จังหวัด สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนขางราบเรียบ ที่ดินมีความเหมาะสมปานกลางถึงสูงในการท านา

                  โดยอาศัยน้ าจากระบบชลประทาน
                                          การพัฒนาและแนวทางการจัดการ ในการใช้พื้นที่เพื่อการท านาควรมีการเพิ่ม
                  ศักยภาพการผลิตด้วยการพัฒนาระบบส่งน้ า และแหล่งกักเก็บน้ าขนาดเล็กในไร่นา เพื่อลดความเสียหาย
                  กรณีฝนทิ้งช่วง และเพิ่มศักยภาพการผลิตด้วยการใช้พันธุ์ดีจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ ประกอบกับการใช้ปุ๋ย

                  อินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพควบคู่กับการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสม หรืออาจท าเกษตรแบบเกษตร
                  ผสมผสานตามแนวทางทฤษฎีใหม่ โดยการขุดบ่อน้ าเลี้ยงปลา ยกร่องปลูกผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้นและนาข้าว
                  ร่วมกัน
                                    1.2) เขตปลูกไม้ผล/พืชผัก (สัญลักษณ์แผนที่ 213) มีเนื้อที่ 39,611 ไร่ หรือร้อยละ 1.41

                  ของเนื้อที่จังหวัด สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ดินลึกปานกลางถึงลึก มีความเหมาะสมของ
                  ที่ดินในการปลูกไม้ผล หรือพืชผักต่างๆ ปัจจุบันมีการใช้พื้นที่ปลูก มะม่วง ล าไย ส้มโอ กล้วย และพืชผัก
                  เป็นต้น
                                          รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ

                                          - พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกไม้ผล และพืชผักต่างๆ ควรจัดหาตลาดรองรับ
                  เพื่อจ าหน่ายในตลาดส าหรับบริโภคภายในพื้นที่ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของแหล่งชุมชน โดยแนวทางการจัดการ
                  ด้านการผลิตไม้ผล ควรใช้แนวทางของเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดการใช้สารเคมี โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และ
                  ผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพ มีการจัดสร้างแหล่งกักเก็บน้ าในไร่นาเพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะแล้ง
                  อันจะกระทบต่อปริมาณผลผลิต

                                          - ควรมีระบบอนุรักษ์ดินและน้ า เพื่อช่วยเก็บกักความชื้นและรักษาสภาพแวดล้อมให้
                  มีความสมดุลมีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในกระบวนการผลิต เพื่อให้เกิดผลดีต่อพืช ที่ดินและสิ่งแวดล้อม
                  โดยรวม
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92