Page 129 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสกลนคร
P. 129

4-13





                  หมั่นขุดลอกคูคลอง ไม่ทิ้งขยะหรือปล่อยน้ าเสียลงในแหล่งน้ า เร่งรัดพัฒนาแหล่งน้ าขนาดเล็กให้

                  กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเพาะปลูกในช่วงขาดน้ า

                        4.2.6 เขตคงสภาพป่านอกเขตป่าตามกฎหมาย
                            มีเนื้อที่ 694,304 ไร่ หรือร้อยละ 11.57 ของเนื้อที่ลุ่มน้ าสาขา โดยเขตนี้มีพื้นที่ซ้อนทับกับ
                  พื้นที่ราชพัสดุประมาณ 3,598 ไร่  พื้นที่ในเขตนี้มีสภาพเป็นป่าที่ค่อนข้างสมบูรณ์แต่อยู่นอกเขตป่าสงวน
                  แห่งชาติ หรือพื้นที่ที่มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์แต่ได้รับการประกาศให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พื้นที่ชุ่มน้ า และ

                  พื้นที่อื่นๆ เช่น ไม้ละเมาะ เป็นต้น
                                รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ
                                - ควรมีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยยึดหลักการใช้ที่ดินแบบผสมผสานระหว่างป่าไม้กับ

                  การเกษตร
                                - ควรป้องกันและรักษาสภาพป่าไม้ให้คงความสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ
                  โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากไม้และของป่าร่วมกันอย่างพอเพียง
                  และยั่งยืน


                  4.3  การจัดการดิน

                        4.3.1 การจัดการดินเค็ม
                            1)  ใช้น้ าฝนหรือน้ าชลประทานช่วยชะล้างเกลือที่อยู่ในดิน น้ าจะช่วยชะล้างคราบเกลือออก
                  จากพื้นที่ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อยขนาด 1-5 ไร่ ท าคันดินกั้นโดยรอบ จากนั้นทดน้ าเข้าแปลง
                  แล้วขังน้ าไว้ 2-3 วัน น้ าที่ขังไว้จะซึมซาบลงดิน ช่วยละลายเกลือที่สะสมอยู่ลงสู่ดินชั้นล่าง เมื่อน้ าที่ขังไว้

                  เปลี่ยนเป็นสีน้ าตาลอ่อนจึงระบายน้ าออกจากพื้นที่ ท าเช่นนี้ 2-3 ครั้ง โดยตรวจวัดความเข้มข้นของ
                  เกลือในน้ าที่ระบายออกมาด้วย เพื่อเร่งการละลายของเกลือโซเดียม แนะน าให้ใส่ยิปซัมแล้วล้างเกลือ

                  โซเดียมที่ละลายออกมาด้วยน้ า
                            2) ปรับปรุงดินและสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมกับพืชที่จะน ามาปลูก ทั้งนี้ ดินเค็มในภาค

                  ตะวันออกเฉียงเหนือมักมีความอุดมสมบูรณ์ต่ าและเป็นดินทราย จึงควรเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินด้วย
                  การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด แกลบ หรือชานอ้อย และอาจใส่ปุ๋ยเคมีร่วมด้วย โดยแบ่งใส่เป็นระยะ
                            3) หากเป็นแปลงนา ควรปรับพื้นที่ให้อยู่ในระดับเดียวกัน เพื่อให้น้ าขังในแปลงนาเสมอ

                  กันทั่วแปลง ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้คราบเกลือมาสะสมที่ผิวดินส่วนใดส่วนหนึ่งของพื้นที่
                            4) เลือกปลูกพืชชนิดที่เหมาะสมกับระดับความเค็มของดิน เช่น การใช้ข้าวทนเค็ม ได้แก่
                  ข้าวขาวดอกมะลิ 105 กข6 กข15 และ เหนียวสันป่าตอง เป็นต้น
                            5) ใช้วัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว ตอซัง เศษพืช แกลบ ใบหญ้าแฝก เพื่อป้องกันไม่ให้
                  แสงอาทิตย์ตกกระทบผิวดินโดยตรง ซึ่งจะช่วยรักษาความชื้นในดินลดอัตราการระเหยของน้ าในดิน และ

                  ลดการสะสมของเกลือที่ผิวดิน นอกจากนี้เมื่อวัสดุคลุมดินถูกย่อยสลาย จะมีประโยชน์ในการเพิ่ม

                  อินทรียวัตถุ และช่วยปรับปรุงสมบัติของดินให้ดีขึ้นด้วย
                                6) ถ้าเป็นพื้นที่เค็มจัด ไม่ควรพัฒนามาใช้ท าการเกษตร ควรใช้ปลูกไม้โตเร็วเพื่อรักษา

                  สภาพแวดล้อม ไม้โตเร็วทนเค็ม ได้แก่ กระถินออสเตรเลีย (Acacia ampliceps) และสะแกนา เป็นต้น
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134