Page 127 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสกลนคร
P. 127

4-11





                  เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน และเพิ่มธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ส าหรับพืชร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีใน

                  อัตราที่เหมาะสม
                                            - ในการใช้พื้นที่เพื่อการท านาควรมีการเพิ่มศักยภาพการผลิตด้วยการพัฒนา
                  แหล่งน้ า เช่น การสร้างบ่อน้ าในไร่นา เพื่อเก็บกักน้ าส าหรับปลูกพืชลดความเสียหายจากกรณีฝนทิ้งช่วง

                                            - ควรเพิ่มศักยภาพการผลิตด้วยการใช้เมล็ดพันธุ์ดีจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้
                                            - ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพควบคู่กับการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสม
                  ตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินทั้งยังเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตจากค่า
                  ปุ๋ยเคมีด้วย
                                            - ส่งเสริมการท าเกษตรแบบเกษตรผสมผสานตามแนวทางทฤษฎีใหม่ โดยการ

                  ขุดบ่อน้ าเลี้ยงปลา ยกร่องปลูกผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้นและนาข้าวร่วมกัน

                                      3.2) เขตเกษตรกรรมที่ต้องพัฒนาตามหลักวนศาสตร์ (สัญลักษณ์แผนที่ 232)
                  เขตนี้มีเนื้อที่ 5,769 ไร่ หรือร้อยละ 0.09 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่ในเขตนี้ปัจจุบันเป็นบริเวณที่มีการใช้
                  ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร ในสภาพพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่มีการใช้

                  พื้นที่เพื่อปลูกพืชไร่
                                      รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ
                                          - เจ้าหน้าที่/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนที่ท าการเกษตรในพื้นที่ดังกล่าว
                  ควรร่วมกันพิจารณาถึงความเหมาะสม และแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณดังกล่าว เพื่อการสงวน

                  และอนุรักษ์พื้นที่ให้เป็นเขตป่าต้นน้ าล าธาร โดยการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ หรืออนุโลมให้มีการใช้
                  ประโยชน์เพื่อการเกษตรได้ ส าหรับในกรณีที่มีความจ าเป็นต้องใช้พื้นที่เพื่อการเกษตรต้องมีแนวทางการ
                  จัดการ และมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เข้มข้น จริงจังและต่อเนื่องโดยไม่ควรปลูกพืชไร่หรือพืช
                  ที่ต้องมีการไถพรวนดินเพื่อเตรียมพื้นที่ในทุกรอบการปลูก เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้มีความลาดชันสูง

                  เสี่ยงต่อการถูกชะล้างพังทลาย และสูญเสียหน้าดินได้ง่าย ดังนั้นจึงควรแนะน าให้ใช้พื้นที่ในการปลูกไม้ผล
                  หรือไม้ยืนต้น เท่านั้น
                                            - ปรับปรุงแก้ไขสภาพดินปัญหาพร้อมทั้งจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ าตามหลัก
                  วิชาการ เพิ่มศักยภาพการผลิตด้วยการพัฒนาแหล่งน้ า เช่น สร้างบ่อน้ าในไร่นา หรืออาจท าเกษตรแบบ

                  ผสมผสานตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ ส าหรับบริเวณพื้นที่ความลาดชันสูงควรสนับสนุนการปลูกสวนป่า
                  และไม้โตเร็วควบคู่กับการอนุรักษ์ดินและน้ า เพื่อเป็นการเก็บกักน้ าและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                                            - ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยและสารปราบศัตรูพืชที่เป็นชีวภาพทดแทนการใช้
                  สารเคมี เนื่องจากสารเคมีจะตกค้างในดินและแหล่งน้ า และจะส่งผลต่อระบบนิเวศของพื้นที่ปลายน้ า

                                (4)   เขตพัฒนาปศุสัตว์ (สัญลักษณ์แผนที่ 24)

                                      มีเนื้อที่ 12,550 ไร่ หรือร้อยละ 0.21 ของเนื้อที่จังหวัด โดยเขตนี้มีพื้นที่ซ้อนทับกับ
                  พื้นที่ราชพัสดุประมาณ 76 ไร่ ปัจจุบันมีสภาพพื้นที่เป็นโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์
                                      รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ
                                      - จัดหาแหล่งน้ าหรือขุดสระน้ าในไร่นาเพื่อให้สัตว์มีน้ ากินและปลูกไม้ยืนต้นไว้เป็น

                  ร่มเงาจัดท าโครงการส่งเสริมด้านปศุสัตว์โดยกรมปศุสัตว์ให้ข้อเสนอแนะวิธีการเลี้ยงสัตว์การปลูก และขยายพันธุ์
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132