Page 126 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสกลนคร
P. 126

4-10





                  แหล่งน้ าในไร่นาเพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะแล้งอันจะกระทบต่อปริมาณผลผลิต

                                        - แนวทางการจัดการในสภาพพื้นที่ที่มีความลาดชัน ควรมีระบบอนุรักษ์ดินและน้ า
                  เพื่อช่วยเก็บกักความชื้นและรักษาสภาพแวดล้อมให้มีความสมดุล มีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
                  ในกระบวนการผลิต เพื่อให้เกิดผลดีต่อพืช ที่ดินและสิ่งแวดล้อมโดยรวม
                                        - ส่งเสริมการท าการเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกรรายย่อย
                  บางบริเวณพื้นที่ค่อนข้างลุ่มควรท าทางระบายน้ าไม่ให้ท่วมขังในฤดูฝน

                                2.4) เขตปลูกไม้ยืนต้น (สัญลักษณ์แผนที่ 224)
                                    มีเนื้อที่ 391,391 ไร่ หรือร้อยละ 6.50 ของเนื้อที่จังหวัด โดยเขตนี้มีพื้นที่ซ้อนทับ

                  กับพื้นที่ราชพัสดุประมาณ 977 ไร่ สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด ดินร่วนปนทรายถึงร่วนเหนียวปน
                  ทรายแป้ง ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ าถึงต่ า ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปลูกไม้ยืนต้น เช่น
                  ยางพารา ปาล์มน้ ามัน  และยูคาลิปตัส
                                      รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ

                                      - ปรับปรุงบ ารุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ให้
                  ถูกต้องตามลักษณะดิน ในช่วงดินมีความชื้นเหมาะสมควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว เพื่อเพิ่ม
                  อินทรียวัตถุแก่ดิน
                                      - จัดสร้างแหล่งน้ าในไร่นาเพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะแล้งอันจะกระทบต่อ
                  ปริมาณผลผลิต

                                (3)   เขตเร่งรัดพัฒนาการเกษตร

                                      เป็นพื้นที่ท าการเกษตรโดยอาศัยน้ าฝนเป็นหลัก ดินมีศักยภาพในการผลิตเล็กน้อย
                  หรือไม่เหมาะสมส าหรับการปลูกพืช หรือมีข้อจ ากัดของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งถ้าหากมีการน าพื้นที่มา
                  ใช้ประโยชน์จะต้องมีการแก้ไขปัญหาที่มีข้อจ ากัดรุนแรงของการใช้ที่ดินนั้นๆ ซึ่งยากต่อการแก้ไข หรือ
                  ต้องใช้เงินทุนสูง เช่น ปัญหาดินเป็นทรายจัดหรือดินค่อนข้างเป็นทราย ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการ
                  อุ้มน้ าที่เป็นประโยชน์ต่อพืชต่ ารวมถึงการที่ดินมีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ า หรือปัญหาดินตื้นซึ่งเป็น

                  อุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช สภาพพื้นที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดิน ดังนั้นการใช้
                  ประโยชน์ที่ดินในบริเวณนี้จึงจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาหรือปรับปรุง และมีมาตรการเฉพาะ
                  เพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น รวมถึงต้องมีมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม เพื่อป้องกันมิให้เกิด

                  ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่เขตนี้สามารถแบ่งย่อยตามสภาพการใช้ที่ดินได้ 2 เขตย่อย
                  ดังนี้

                                      3.1) เขตพื้นที่เร่งรัดส่งเสริมการปรับปรุงบ้ารุงดิน (สัญลักษณ์แผนที่ 231) มีเนื้อ
                  ที่ 257,102 ไร่ หรือร้อยละ 4.28 ของเนื้อที่จังหวัด โดยเขตนี้มีพื้นที่ซ้อนทับกับพื้นที่ราชพัสดุประมาณ
                  403 ไร่

                                      รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ
                                            - ปรับปรุงบ ารุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ให้
                  ถูกต้องตามลักษณะดิน ในช่วงดินมีความชื้นเหมาะสมควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว เพื่อเพิ่ม
                  อินทรียวัตถุแก่ดิน
                                            - ควรปรับปรุงบ ารุงดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยพืชสด
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131