Page 131 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสกลนคร
P. 131

4-15





                  ตระกูลถั่วแล้วไถกลบ เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารและน้ าให้แก่ดิน และใช้ปุ๋ยเคมีร่วม

                  ด้วยตามความเหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูก
                            4) ใช้วัสดุคลุมดินเพื่อป้องกันการระเหยของน้ าและเก็บรักษาความชื้นในดิน
                            5) จ าเป็นต้องมีการจัดการน้ าที่เหมาะสม จัดหาแหล่งน้ าให้พอเพียงกับการเพาะปลูก และ

                  มีการให้น้ าอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ให้น้ าแบบหยด เป็นต้น
                            6) พื้นที่ที่มีความลาดชัน ควรมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า ไถพรวนและปลูกพืชตามแนว
                  ระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ ปลูกพืชคลุมดินประเภทถั่วและหญ้า เช่น ถั่วเวอราโนสไตโล หญ้ารูซี่
                  หรือปลูกพืชตระกูลถั่วยืนต้น เช่น กระถิน ถั่วมะแฮะ และแคฝรั่ง โดยปลูกสลับกับแถวพืชหลักที่ปลูกไว้
                  เพื่อลดการชะล้างพังทลายของดิน หรือปลูกหญ้าแฝก เป็นต้น การวางระบบอนุรักษ์ดินและน้ า เพื่อ

                  ป้องกันไม่ให้หน้าดินถูกชะล้างพังทลายเป็นสิ่งจ าเป็นมาก ถ้าจะท าการเกษตรบนพื้นที่ดินตื้น เพราะหน้า
                  ดินหากถูกชะล้างหายไป ชั้นเศษหิน ชั้นกรวด หรือชั้นลูกรัง จะโผล่ขึ้นมาซึ่งก็จะท าให้การปลูกพืชไม่

                  ได้ผลและแก้ไขยาก
                        4.3.4 การจัดการดินดาน

                            ดินดานในที่นี้เป็นดินดานที่เกิดขึ้นจากการใช้ที่ดินไม่เหมาะสม มีการเขตกรรมที่ผิดวิธี มี
                  การไถพรวนด้วยเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ ในขณะที่ดินมีความชื้นเกินไป หรือไถพรวนที่ระดับความลึก
                  เดียวกันบ่อยครั้งเป็นเวลานานหลายๆ ปีติดต่อกัน ท าให้ดินแน่นทึบส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต

                  และการให้ผลผลิตของพืชที่ปลูก แนวทางการจัดการ มีดังนี้
                                1) การไถระเบิดดินดานโดยใช้ไถสิ่ว หรือที่เรียกว่า Ripper ไถท าลายชั้นดาน โดยการไถ
                  2 แนว ตัดกันเป็นตารางหมากรุก จากนั้นไถด้วยผาน 3 เพื่อพลิกดิน และไถพรวนด้วยผาน 7 เพื่อย่อย
                  ดินและกลบรอยเบิกดินดาน ป้องกันการสูญเสียความชื้นจากใต้ดิน เมื่อชั้นดินดานถูกท าลาย น้ าสามารถ
                  ซึมลงใต้ดินเก็บกักไว้ใช้ในหน้าแล้ง และรากพืชสามารถชอนไชลงไปในดินได้สะดวกขึ้น เนื่องจากการไถ

                  ระเบิดดินดานเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายจึงไม่จ าเป็นต้องไถระเบิดทุกปี ขึ้นอยู่กับชนิดของดินและวิธีเขต
                  กรรม เช่น พื้นที่ที่ปลูกมันส าปะหลัง อาจไถระเบิดดานปีเว้นปี ส่วนไร่อ้อยควรไถระเบิดดานช่วงรื้อตอ
                  อ้อยทุกครั้ง คือประมาณ 3-4 ปี ต่อครั้ง อย่างไรก็ตาม ในหลักปฏิบัติการไถระเบิดดินดานโดยใช้ไถสิ่ว
                  อาจท าได้ยาก เพราะต้องมีรถแทรกเตอร์และเครื่องมือโดยเฉพาะซึ่งหาจ้างได้ยาก

                            2) การสลายชั้นดินดานด้วยรากหญ้าแฝก การปลูกหญ้าแฝกเพื่อให้รากชอนไชลงไปในดิน
                  สามารถช่วยท าลายชั้นดานได้เช่นกัน ท าให้เกิดช่องว่างในดินมากขึ้น ก่อนการปลูกให้ใช้สว่านเจาะดิน
                  เจาะดินลึกลงไปในชั้นดานแล้วปลูกหญ้าแฝก รากหญ้าแฝกจะเจริญเติบโตหยั่งลึกลงไปได้ดี หากมีการให้
                  น้ าเพิ่มเติมจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ดิน ท าให้หญ้าแฝกเจริญเติบโตดีมีรากแผ่ขยายออกไปมาก ซึ่ง

                  จะช่วยสลายโครงสร้างดินดาน แต่วิธีการเช่นนี้อาจต้องใช้เวลานานเป็นปีกว่าชั้นดินดานจะถูกท าลาย
                  โครงสร้างโดยรากหญ้าแฝก
                            3) เพื่อป้องกันการเกิดชั้นดานใต้ชั้นไถพรวน ควรไถพรวนในขณะที่ดินมีความชื้น

                  เหมาะสม ไม่ไถพรวนบ่อยครั้ง ไถพรวนขณะที่ดินเปียกเกินไป หรือไถพรวนต่างระดับกันก่อนการ
                  เพาะปลูกพืช
                            4) ควรมีการปรับปรุงบ ารุงดินด้วยอินทรียวัตถุควบคู่ไปกับการจัดการดินดาน เพื่อให้ดินมี

                  โครงสร้างที่ดี ลดความหนาแน่นรวมของดิน และเพื่อให้รากพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136