Page 132 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสกลนคร
P. 132

4-16





                        4.3.5 ดินบนพื้นที่ภูเขาหรือดินในพื้นที่สูงชัน (slope complex soils)

                                ดินบนพื้นที่ภูเขามีความชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะของดินผันแปรไปตามชนิด
                  ของหิน ซึ่งมีทั้งที่เป็นดินตื้น และดินลึก บางแห่งจะมีหินโผล่มาก ลักษณะดินส่วนใหญ่เสี่ยงต่อการถูกชะ
                  ล้างพังทลาย ง่ายต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม และยากแก่การเกษตรกรรม ดังนั้นจึงไม่เหมาะในการที่จะ

                  น ามาใช้ในการเกษตร สมควรก าหนดให้เป็นเขตป่าไม้ถาวร เขตต้นน้ าล าธาร เขตอุทยานแห่งชาติ หรือ
                  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า


                  4.4  การอนุรักษ์ดินและน้้า
                        4.4.1 ความจ้าเป็นในการอนุรักษ์ดินและน้้า
                                การสูญเสียดินจากกระบวนการชะล้างพังทลายของดิน พบว่า เกิดขึ้นอยู่ทั่วไปในทุก

                  ประเทศ ทั้งในพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ต้นน้ า โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความลาดชันและไม่มีมาตรการ
                  อนุรักษ์ดินและน้ า ท าให้พื้นที่ดังกล่าวสูญเสียหน้าดินและธาตุอาหารพืช ซึ่งการสูญเสียดินจะส่งผล
                  กระทบเสียหายรุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับลักษณะของดินในแต่ละพื้นที่ หากกระบวนการเกิดดินเป็นไป
                  อย่างรวดเร็วและดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติสูง แม้มีอัตราการสูญเสียดินสูงก็อาจไม่มี

                  ผลกระทบต่อการใช้ที่ดิน ตรงกันข้ามถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ าและกระบวนการเกิดดินเป็นไปอย่าง
                  ช้าๆ แม้การสูญเสียดินเล็กน้อยก็อาจส่งผลกระทบเสียหายรุนแรงต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นได้
                                กรมพัฒนาที่ดิน ได้มีการก าหนดปริมาณการสูญเสียดินสูงสุดที่ยอมรับได้ส าหรับดินใน
                  ประเทศไทยเป็น 2 ตันต่อไร่ต่อปี ซึ่งการสูญเสียดินในระดับนี้จะไม่ท าให้สมรรถนะของดินส าหรับ

                  การเกษตรเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา 25 ปี และค่าการสูญเสียดินที่สูงกว่าระดับนี้จะมีผลเสียหายต่อ
                  คุณภาพดินและผลผลิตพืชในระยะยาว กรมพัฒนาที่ดินรายงานว่าอัตราการสูญเสียดินในพื้นที่เกษตรกรรม
                  ของประเทศไทย อยู่ระหว่าง 0-50 ตันต่อไร่ต่อปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในทางพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการชะล้าง

                  พังทลายจะเกิดการสูญเสียดินที่รุนแรงทั้งอัตราและปริมาณ ผลกระทบจากการสูญเสียดินในพื้นที่ส่งผล
                  ต่อความสามารถในการให้ผลผลิตของดินและรายได้ของเกษตรกรลดลง ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
                  คุณภาพสิ่งแวดล้อม และส่งผลต่อโครงสร้างทางวิศวกรรมและอุตสาหกรรม เช่น การท าลายโครงสร้าง
                  ถนน ท าให้ทางน้ าและแหล่งน้ าตื้นขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการประเมินการสูญเสียธาตุอาหารในดิน
                  จากการศึกษาคุณภาพน้ าในพื้นที่ลุ่มน้ าทั่วประเทศ เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารที่ถูกพัดพาจาก

                  พื้นที่ลุ่มน้ า ในด้านอัตราการสูญเสียในรูปของตะกอนดินและธาตุอาหารพืช และคุณค่าทางเศรษฐกิจใน
                  รูปของปุ๋ย พบว่า มูลค่าธาตุอาหารพืชจากตะกอนดินที่ถูกชะล้างไปทั่วประเทศ การสูญเสียธาตุ
                  ไนโตรเจนในรูปของปุ๋ยยูเรียประมาณ 294,128 ตันต่อปี ปริมาณฟอสฟอรัสในรูปของปุ๋ยทริปเปิล

                  ซุปเปอร์ฟอสเฟตประมาณ 275,040 ตันต่อปี และปริมาณโพแทสเซียมในรูปของปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์
                  ประมาณ 1,040,314 ตันต่อปี
                                การอนุรักษ์ดินและน้ าจึงเป็นภารกิจหลักของกรมพัฒนาที่ดิน ที่ด าเนินการเพื่อรักษาสภาพ
                  ทรัพยากรดินและน้ าให้เอื้ออ านวยต่อการผลิตทางการเกษตรและช่วยให้การใช้ที่ดินเพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน
                  การเลือกใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่ให้เหมาะสม จึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันรักษา

                  พื้นดินให้พ้นจากการกัดเซาะพังทลายของดิน รักษาความสมบูรณ์ของดิน และอนุรักษ์น้ าไว้ในดินให้คงอยู่
                  พอแก่การเพาะปลูกพืช ส่งผลถึงประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและรักษาสภาพแวดล้อมให้ยั่งยืน
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137