Page 133 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสกลนคร
P. 133

4-17





                        4.4.2 มาตรการอนุรักษ์ดินและน้้า

                                สภาพภูมิประเทศของประเทศไทยโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นที่ราบร้อยละ 28.8 ที่ดอน ร้อยละ
                  42.6 และที่สูง ร้อยละ 28.6 ในแต่ละสภาพภูมิประเทศ ความลาดชันเป็นปัจจัยส าคัญที่ก่อให้เกิดการชะล้าง
                  พังทลายของดิน ดังนั้น มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าจึงผันแปรไปตามความลาดชัน ตั้งแต่ลักษณะพื้นที่

                  ราบ พื้นที่ดอน และพื้นที่สูง ซึ่งมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่ใช้กันสามารถแบ่งออกตามลักษณะของ
                  มาตรการได้เป็น 2 ประเภท คือ มาตรการวิธีกล (mechanical measures) และมาตรการวิธีพืช
                  (vegetative measures) การเลือกใช้มาตรการใด ควรพิจารณาลักษณะดิน ภูมิประเทศ ปริมาณน้ าฝน
                  ตลอดจนการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยเลือกวิธีการผสมผสานมาตรการให้เหมาะสมเพื่อให้การท าการเกษตรเกิด
                  ความยั่งยืน มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าจะเสริมให้การอนุรักษ์ดินและน้ ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


                                4.4.2.1 มาตรการวิธีกล เป็นวิธีการปรับสภาพของพื้นที่เพื่อลดความยาวและความลาดเท
                  ของพื้นที่เพื่อลดความสามารถในการเคลื่อนย้ายตะกอนดิน โดยการสรางสิ่งกีดขวางความลาดเทของ
                  พื้นที่และทิศทางการไหลของน้ า เพื่อช่วยควบคุมน้ าไหลบ่าหน้าดิน ลดและชะลอความเร็วของกระแสน้ า
                  วิธีการนี้ต้องใช้เทคนิคความรู้ แรงงาน เครื่องมือและงบประมาณสูง ซึ่งการใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า

                  วิธีกลให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และปัจจัยต่างๆ (ตารางที่ 4-2)

                  ตารางที่ 4-2   การใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้้าด้วยมาตรการวิธีกล

                         มาตรการวิธีกล                       สภาพพื้นที่และปัจจัยประกอบ

                  การไถพรวนตามแนวระดับ        เหมาะสมกับพื้นที่ความลาดเท 2-8 เปอร์เซ็นต์ และความยาวของ
                  (contour tillage)           ความลาดเทไม่เกิน 100 เมตร ในพื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง สามารถใช้
                                              ร่วมกับมาตรการอื่นๆ เช่น คันดิน ขั้นบันไดดิน

                  คันดิน (terrace)            ใช้ส าหรับพื้นที่ความลาดเท 2-12 เปอร์เซ็นต์ คันดินระดับ ความ
                                              ยาวไม่จ ากัด ใช้ในบริเวณที่มีปริมาณฝนตกน้อย คันดินลดระดับ
                                              ความยาวไม่ควรเกิน 300-600 เมตร หากความยาวเกินกว่าที่
                                              ก าหนดให้จัดท าทางระบายน้ าเป็นระยะ เพื่อลดความยาวของคันดิน

                                              ให้อยู่ภายในพิกัด
                  คันดินรับน้ ารูปครึ่งวงกลม   เหมาะส าหรับไร่นาขนาดเล็กที่ปลูกไม้ยืนต้น ในพื้นที่ที่มีปริมาณ
                  (semicircular bund) และ     น้ าฝนน้อยและดินเป็นดินทรายหรือดินร่วน
                  คันดินรับน้ ารูปสี่เหลี่ยมคางหมู

                  (trapezoidal bend)
                  คันดินเบนน้ า (diversion    เป็นคันดินขนาดใหญ่ที่ก่อสร้างตอนบนสุดของพื้นที่ โดยสร้างขึ้น
                  terrace)                    ขวางความลาดเทของพื้นที่ ต้องมีการค านวณและออกแบบอย่าง

                                              ถูกต้องเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับคันดินส่วนล่าง
                  ขั้นบันไดดิน (bench terrace)  เป็นการปรับพื้นที่เป็นขั้นๆ ต่อเนื่องกันคล้ายบันไดเพื่อลดความยาว
                                              และระดับของความลาดเท
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138