Page 121 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสกลนคร
P. 121

4-5





                                    - ควรส่งเสริมและรณรงค์ให้ราษฎรในพื้นที่เห็นถึงคุณค่าของทรัพยากรป่าไม้ และ

                  มีส่วนร่วมในการดูแลและบ ารุงรักษาผืนป่าในพื้นที่ร่วมกัน

                              2) เขตพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ
                                เขตนี้อยู่ในพื้นที่ป่าเพื่อเศรษฐกิจตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การจ าแนกเขตการใช้
                  ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ วันที่ 10 และ 17 มีนาคม 2535 ซึ่งพื้นที่
                  ป่าเพื่อเศรษฐกิจนี้ได้ก าหนดไว้เพื่อการผลิตไม้และของป่า เพื่อการพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ และ

                  ประสานการใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ เพื่อประโยชน์ทาง
                  เศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติ และเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี โดยไม่รวมพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน
                  ที่ได้มีการประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาแล้ว เมื่อพิจารณาจากข้อมูลการส ารวจสภาพการใช้ที่ดิน

                  สามารถจ าแนกออกเป็นพื้นที่ป่าสมบูรณ์ พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมรอสภาพฟื้นฟู และพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์
                  เพื่อการเกษตร ซึ่งเป็นพื้นที่รอการพิสูจน์สิทธิตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
                                  1) เขตบ้ารุงรักษาสภาพป่า (สัญลักษณ์แผนที่ 121) เขตนี้มีเนื้อที่ 15,884 ไร่ หรือ
                  ร้อยละ 0.26 ของเนื้อที่จังหวัด โดยเขตนี้มีพื้นที่ซ้อนทับกับพื้นที่ราชพัสดุประมาณ 145 ไร่ สภาพพื้นที่

                  ปัจจุบันมีลักษณะเป็นป่าสมบูรณ์
                                      ข้อเสนอแนะการใช้พื้นที่ในเขตบ้ารุงรักษาป่า
                                    - ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
                  เรื่อง มาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินป่าไม้ โดยให้กรมป่าไม้ส ารวจพื้นที่ที่มีการครอบครองให้

                  ชัดเจน
                                    - ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540
                  เรื่อง แผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดิน
                  และป่าไม้อย่างมีระบบโดยให้มีการอนุรักษ์ควบคู่กับการพัฒนาที่ยั่งยืน และสงวนรักษาไว้ซึ่งทรัพยากร

                  ป่าไม้ที่เหลืออยู่รวมถึงฟื้นฟูป่าที่เสื่อมสภาพ โดยต้องอยู่บนหลักในการลดปัญหาความขัดแย้งของการ
                  ใช้ทรัพยากรในพื้นที่
                                    - ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มมาตรการจัดการป่าไม้และจัดการป่าชุมชนแบบ

                  ผสมผสานเพื่อให้ป่าคงอยู่และสามารถใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ได้อย่างยั่งยืน
                                    - ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดท าแนวกันไฟ เพื่อป้องกันไฟป่าที่อาจเกิดขึ้นตาม
                  ธรรมชาติหรือจากกิจกรรมของมนุษย์
                                    - รณรงค์ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและบ ารุงรักษาผืนป่าในพื้นที่ร่วมกัน

                                  2) เขตฟื้นฟูทรัพยากรป่าตามธรรมชาติ (สัญลักษณ์แผนที่ 122) เขตนี้มีเนื้อที่

                  17,082 ไร่ หรือร้อยละ 0.28 ของเนื้อที่จังหวัด โดยเขตนี้มีพื้นที่ซ้อนทับกับพื้นที่ราชพัสดุประมาณ 36 ไร่
                  พื้นที่ในเขตนี้ปัจจุบันมีสภาพเป็นพื้นที่ป่ารอสภาพฟื้นฟู และบางบริเวณมีการใช้ประโยชน์เพื่อ
                  การเกษตร ได้แก่ บริเวณที่มีการปลูกพืชไร่ ไร่หมุนเวียน ในสภาพพื้นที่มีความลาดชันมากกว่า
                  50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่มีการใช้พื้นที่เพื่อปลูกพืชไร่ ป่ารอสภาพฟื้นฟู และไร่หมุนเวียน
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126