Page 129 - Land Use Plan of Thailand
P. 129

4-11





                  ใน พ.ศ. 2554 ซึ่งจ าแนกออกตามภาคกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย ภาคพลังงาน ภาคกระบวนการผลิต

                  ในอุตสาหกรรม ภาคเกษตร ภาคการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและป่าไม้ และภาคของเสีย
                  โดยภาคพลังงานเป็นภาคที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด (ร้อยละ 72.97) รองลงมาคือภาคเกษตร
                  (ร้อยละ 17.32) กระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละ 5.97) และภาคของเสียถือว่าเป็นภาคที่

                  มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด (ร้อยละ 3.74) ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด โดย
                  ทิศทางการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกภาคส่วนของประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2543 – 2554 เพิ่มขึ้น
                  จาก พ.ศ.2543 จนถึง พ.ศ.2547 และลดลงใน พ.ศ.2548 หลังจากนั้นก็มีการเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ
                  (ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2558)

                               จากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ได้มีข้อเสนอเป้าหมาย 2 องศา หมายถึงข้อเสนอในการ

                  ก าหนดเป้าหมายของการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไว้ที่การควบคุมระดับการ
                  เพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลกให้อยู่ในระดับที่เพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับ
                  ระดับอุณหภูมิในยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ปรากฏขึ้นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1990 ในรายงานของ
                  คณะท างานด้านเป้าหมายและตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ “คณะที่ปรึกษาด้านก๊าซ

                  เรือนกระจก”ในฐานะของ “ขีดจ ากัดขั้นสูงก่อนที่ความเสียหายที่ร้ายแรงต่อระบบนิเวศและผลกระทบที่
                  ไม่เป็นเชิงเส้นที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว” หลังจากนั้นเป้าหมายดังกล่าวก็ค่อยๆ ได้รับการยอมรับ
                  เพิ่มขึ้นจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจนกลายเป็น “เป้าหมายมาตรฐาน” ของการก าหนดนิยามขีดจ ากัด
                  การควบคุมปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน

                        4.3.2  ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตร

                               ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศโดยในช่วง 50 ปี

                  (พ.ศ. 2495 – 2543) ที่ผ่านมาพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดและต่ าสุดของไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นและปริมาณน้ าฝน
                  มีแนวโน้มลดลงในทุกภูมิภาค (จิราภรณ์และคณะ, 2545) ท าให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม
                  ต่อภาคการเกษตรของไทยทั้งในด้านการผลิตพืชและด้านการจัดการ (เกริกและคณะ, 2552: 1)

                               การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงและการเปลี่ยนแปลงของ

                  ปริมาณน้ าฝน ทั้งน้ าท่วมและภัยแล้ง ซึ่งประเทศไทยก็มีแนวโน้มของผลกระทบดังกล่าวเพิ่มขึ้นด้วย
                  (ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2558ก) เช่น สถานการณ์ภัยแล้งได้
                  ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร ความมั่นคงของน้ าและอาหาร ส าหรับสถานการณ์ภัยแล้ง พบว่า มี
                  ราษฎรได้รับผลกระทบกว่าปีละ 14 ล้านคน และรวมมูลค่าความเสียหายสะสมทั้งสิ้น 4,969 ล้านบาท
                  (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, 2559) โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งโดยตรงคือ ชาวนาและ

                  เกษตรกรที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง และประชาชนที่ขาดแคลนน้ าส าหรับการอุปโภค บริโภคในหน้าแล้ง

                               ความล่าช้าของฤดูฝนเป็นผลท าให้การจัดสรรน้ าในการเกษตรกรรมไม่เพียงพอต่อความ
                  ต้องการของเกษตรกรอากาศที่ร้อนขึ้นเร่งการระเหยและการคายน้ าของพืชท าให้ผลผลิตเสียหายอีกทั้งสภาพ
                  อากาศที่ร้อนชื้นยังเร่งการเจริญเติบโตของแมลงและจุลินทรีย์บางชนิดที่ท าให้เกิดการระบาดของโรคพืชสร้าง
                  ความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วยอันเป็นผลท าให้เกษตรกรต้องแสวงหาพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134