Page 132 - Land Use Plan of Thailand
P. 132

4-14





                  การเกษตรซึ่งเป็นสาเหตุให้พืชพรรณต่างๆได้รับผลกระทบ ท าให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตไม่

                  สมบูรณ์ เกิดความเสียหายทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม(กรมอุตุนิยมวิทยา, 2560ง)

                        4.4.2  สาเหตุและลักษณะของการเกิดภัย

                               1)  ดินถล่ม
                                   (1)  สาเหตุของการเกิดดินถล่มมีอยู่ 2 สาเหตุหลัก คือ
                                       -  สาเหตุจากธรรมชาติ ประกอบด้วย สภาพภูมิประเทศ ได้แก่ ความสูง ความ

                  ลาดชัน ลักษณะของความลาดเอียง ความต่างระดับของพื้นที่ รูปแบบและปริมาณฝน พืชพรรณและการใช้
                  ที่ดิน คุณสมบัติทางกายภาพของดิน ธรณีวิทยา ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ า ปริมาณน้ าท่า อัตราการไหลของน้ า
                  การเปลี่ยนแปลงระดับน้ าใต้ดิน การสั่นสะเทือนอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหว การระเบิดของภูเขาไฟ การเกิด
                  คลื่นยักษ์ การกัดเซาะหน้าผาและตลิ่งโดยคลื่นหรือแม่น้ า รวมทั้งการเกิดหิมะถล่ม เป็นต้น
                                       -  สาเหตุจากมนุษย์ ประกอบด้วย การบุกรุกและตัดไม้ท าลายป่า การแผ้ว

                  ถางป่าเพื่อปลูกพืชไร่ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่สูงโดยไม่มีการควบคุม เช่นการก่อสร้างที่อยู่
                  อาศัยในพื้นที่ที่มีแนวโน้มเกิดดินถล่ม การสร้างถนน หรือเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ที่เป็นภูเขา นอกจากนั้น
                  แล้วการก่อสร้างบ้านเรือน และโครงสร้างพื้นฐานกีดขวางล าน้ า การขุดเจาะเพื่อฝังท่อ หรือการขุดเจาะ

                  เคลื่อนย้ายหิน รวมทั้งการสั่นสะเทือนจากการจราจรและการระเบิดที่รุนแรง ก็เป็นสาเหตุและปัจจัยที่
                  ก่อให้เกิดดินถล่มได้เช่นกัน
                                   (2)  ลักษณะของการเกิดดินถล่ม BC Geological Survey (2006) ได้แบ่งประเภท
                  ของการเกิดดินถล่ม ตามลักษณะต่างๆดังต่อไปนี้

                                       -  แบ่งตามอัตราการเคลื่อนที่ (rate of movement) โดยมีช่วงตั้งแต่
                  อัตราการเคลื่อนที่อย่างช้าๆ (มิลลิเมตร/ปี) ซึ่งเรียกว่า การคืบตัว (Creep) ถึงอัตราการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
                  (เมตร/วินาที)

                                       -  แบ่งตามลักษณะของวัตถุ โดยดินถล่มที่เกิดมีส่วนประกอบของ หินพื้นหรือ
                  ดิน ดินผสมกับหิน หรือ หิมะหรือเศษซากของต้นไม้ สิ่งมีชีวิตต่างๆ
                                       -  แบ่งตามลักษณะการเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของหินพื้นหรือดิน ดินผสมกับหิน
                  หรือ เศษซากของต้นไม้ สิ่งมีชีวิตต่างๆมีหลายลักษณะ เช่น การเลื่อนไหล (slide) การถล่ม
                  (slump) การไหล (flow) การร่วง (fall)

                               2)  อุทกภัย
                                   (1)  สาเหตุของการเกิดอุทกภัยมีอยู่ 2 สาเหตุหลักคือ เกิดจากธรรมชาติและเกิด
                  จากการกระท าของมนุษย์ กล่าวคือ

                                       -  สาเหตุจากธรรมชาติ เกิดจากฝนตกหนัก อันเนื่องมาจาก(1) พายุหรือพายุ
                  ฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง มีปริมาณฝนตกหนักมากจนไม่อาจไหลลงสู่ต้นน้ า
                  ล าธารได้ทันจึงท่วมพื้นที่ที่อยู่ในที่ต่ า มักเกิดในช่วงฤดูฝนหรือในฤดูร้อน (2)ฝนตกหนักจากพายุหมุนเขต
                  ร้อน โดยเฉพาะขณะที่พายุนี้ประจ าอยู่แห่งใดแห่งหนึ่งเป็นเวลานานหรือแทบไม่เคลื่อนที่ จะท าให้
                  บริเวณนั้นๆ มีฝนตกหนักติดต่อกันตลอดเวลา ยิ่งพายุมีความรุนแรงมาก เช่น มีความรุนแรงขนาดพายุ

                  โซนร้อนหรือไต้ฝุ่น เมื่อเคลื่อนตัวไปถึงที่ใดก็ท าให้ที่นั้นเกิดพายุลมแรงฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้างและมี
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137