Page 130 - Land Use Plan of Thailand
P. 130

4-12





                  เหมาะสมกับการปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปและที่ส าคัญไปกว่านั้นเกษตรกรยังต้องมี

                  การปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรแผนการผลิตการขนส่งและการตลาดอีกด้วย (ฤทธิเดชและคณะ, 2557: 1)

                        4.3.3  การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation to Climate Change)

                               การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หมายถึง การปรับตัวและสิ่งรอบๆตัว
                  รวมถึงชุมชนให้มีความสามารถในการรับมือและสร้างภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
                  รวมถึงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆเพื่อรับมือต่อสถานการณ์และสภาพปัญหา

                               พื้นที่การเกษตรของประเทศไทยครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งประเทศ มี
                  ประชากรที่เกี่ยวข้องโดยตรงมากกว่าร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมด  ระบบการเกษตรร้อยละ 75 เป็น

                  ระบบเกษตรอาศัยน้ าฝนที่มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและฤดูกาล การเปลี่ยนแปลง
                  สภาพภูมิอากาศน ามาซึ่งความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ มีแนวโน้มว่าจะมีความถี่มากขึ้นและความ
                  รุนแรงมากขึ้นในทุกพื้นที่ ความผันผวนในการผลิตทางการเกษตรจากสภาวะน้ าท่วมและฝนแล้งที่เกิดขึ้น

                  เป็นประจ าทุกปีและรุนแรงขึ้น ท าให้เกิดความสูญเสียและความไม่แน่นอนของผลผลิตทางการเกษตร

                               การด าเนินการเพื่อเพิ่มศักยภาพหรือความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพ
                  ภูมิอากาศในภาคการเกษตรเพื่อให้สามารถปรับตัวต่อสภาวะอากาศที่แปรปรวน โดยการปรับเปลี่ยน
                  เทคโนโลยี การจัดการหรือนวัตกรรมใหม่เพื่อการรับมือ ตัวอย่างเช่น การปรังปรุงพันธุ์พืช การปรับเปลี่ยน
                  ชนิดพืช การจัดการดินที่ดี การจัดการน้ าที่มีประสิทธิภาพ และการปรับตัวในการด าเนินกิจกรรมทางการเกษตร

                  รวมถึงการปรับเปลี่ยนระบบการปลูกพืชให้มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

                               การปรับตัวในภาคเกษตรกรรม มักจะศึกษาถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
                  ต่อผลผลิตการเกษตร และมีการศึกษาด้านการปรับตัวในภาคการเกษตรร่วมกับกลไกการประกันภัยต่อ
                  สภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม ส่วนการด าเนินการปรับตัวในระดับชุมชนนั้น ปัจจัยที่ท าให้เกิดการ
                  ด าเนินการขึ้นได้ (Enabling factor) และปัจจัยที่ท าให้เกิดผลส าเร็จ (Critical success factor) นั้น

                  ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละชุมชน โดยจะต้องใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการด าเนินการ และสร้างการ
                  เรียนรู้ขึ้นในชุมชนและระหว่างชุมชน

                               การเตรียมความพร้อมในการปรับตัวเพื่อลดความสูญเสียและลดผลกระทบจากการ
                  เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อน าไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนทางภาคการเกษตร ต้องอาศัยความ

                  ร่วมมือจากทุกภาคส่วน และจ าเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้เชิงบูรณาการหลายสาขา รวมทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่
                  ที่น่าเชื่อถือ ถูกต้อง และทันสมัย โดยผ่านการประมวลผลและสังเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อ
                  สนับสนุนการตัดสินใจ การวางแผน ทั้งเชิงนโยบายและปฏิบัติการ ดังนั้น การน าข้อมูลเชิงพื้นที่ที่มีการ
                  ตรวจวัดอยู่แล้วอย่างต่อเนื่อง เช่น ข้อมูลดาวเทียมจากแหล่งต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศมา
                  ศึกษาวิจัยด้านภูมิอากาศวิทยา เพื่อวิเคราะห์ติดตามการเปลี่ยนแปลง ทั้งบริเวณผิวพื้นและในชั้น

                  บรรยากาศ จะช่วยให้เข้าใจและเห็นภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบในด้านต่างๆ ได้ชัดเจน
                  ขึ้น ซึ่งจะท าให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และเกษตรกร
                  สามารถน าไปใช้ในการวางแผนบริหารจัดการและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135