Page 128 - Land Use Plan of Thailand
P. 128

4-10






                  4.3  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

                        กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ซึ่งเกิดจากการ

                  ประชุมระดับนานาชาติขึ้นเพื่อหาแนวทางยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและป้องกันผลกระทบที่
                  จะเกิดขึ้นกับมนุษย์เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 ณ ส านักงานใหญ่องค์การสหประชาติ นคร
                  นิวยอร์ค โดยมีภาคี 197 ประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2559) ประเทศไทยได้ให้สัตบาบัน

                  เข้าร่วมเป็นรัฐภาคีอนุสัญญาเมื่อวันที่28 ธันวาคม พ.ศ.2537 ได้ให้ความหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพ
                  ภูมิอากาศว่าเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่ท าให้องค์ประกอบของบรรยากาศ
                  เปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากความผันแปรตามธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจาก
                  กิจกรรมการพัฒนาประเทศในภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคการเกษตร พลังงาน อุตสาหกรรม ขนส่ง ครัวเรือน

                  และภาคของเสีย ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ
                  ระบบนิเวศ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคง
                  ของประเทศ

                        อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศท าให้ประเทศไทยจะต้องจัดท า
                  รายงานข้อมูลก๊าซเรือนกระจกตามศักยภาพและความพร้อมในการด าเนินการของประเทศ ประกอบกับ

                  ยุทธศาสตร์ของประเทศได้ก าหนดให้ประเทศไทยมีการพัฒนาตามแนวทางสังคมคาร์บอนต่ า ทั้งนี้
                  เพื่อให้ทุกภาคส่วนในประเทศไทยสามารถด าเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ
                  และแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ส านักงานนโยบาย
                  และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2558)

                        4.3.1  สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการลดก๊าซเรือนกระจก

                               ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นวิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อม

                  ที่ร้ายแรงของศตวรรษ เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ก่อให้เกิดการเพิ่มของก๊าซเรือนกระจก
                  (Greenhouse Gases; GHGs) ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิที่ผิวโลก
                  (Global Warming) มีงานวิจัยมากมายที่ชี้ให้เห็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก ทั้ง
                  อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น การเพิ่มของระดับน้ าทะเล ฯลฯ ซึ่งตัวเร่งที่ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็คือผลจากการ

                  กระท าของมนุษย์

                                                                     th
                               ปี ค.ศ. 1987 ที่ประชุมอุตุนิยมวิทยาโลก (10  WMO Congress) มีการเสนอให้จัดตั้ง
                  องค์กรอิสระเพื่อประเมินความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
                  ปีต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งหน่วยงาน Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC)
                  และมีการจัดท ารายงานAssessment Report ขึ้น จนกระทั่งปัจจุบันมีการรายงานมาแล้ว 5 ฉบับ


                               จากรายงานการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (IPCC, 2007) พบว่าภัยพิบัติ
                  ทางธรรมชาติและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับปริมาณ
                  คาร์บอนไดออกไซด์และอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่มีการเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกๆ ปี โดยที่ประเทศ
                  ไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้น 305.52 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า (MtCO2eq)
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133