Page 125 - Land Use Plan of Thailand
P. 125

4-7


                        3)     ช่วงระยะเวลาที่ไม่สามารถปลูกพืชได้โดยอาศัยน้ าฝน หรือช่วงขาดน้ า มีความชื้นในดิน
                  ไม่เพียงพอต่อความต้องการน้ าของพืช เป็นช่วงฤดูแล้ง เริ่มตั้งแต่ประมาณปลายเดือนตุลาคมถึงปลาย
                  เดือนมีนาคมของปีถัดไป ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันตก ส่วน

                  ภาคใต้จะเริ่มตั้งแต่ประมาณกลางเดือนมกราคมถึงต้นเดือนมีนาคมของปีถัดไป

                        สมดุลของน้ าเพื่อการเกษตรของประเทศไทย ในภาคใต้จะมีช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการปลูก
                  พืชยาวนานกว่าภาคอื่นๆ คือประมาณ 10 เดือน รองลงมาคือภาคตะวันตก ประมาณ 8 เดือน
                  ส่วนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประมาณ 6-7 เดือน

                        และเมื่อน ามาวิเคราะห์หาดัชนีความแห้งแล้งแต่ละเดือนของประเทศไทย (รูปที่ 4-4) พบว่า มี
                  ความสอดคล้องกับสมดุลของน้ าเพื่อการเกษตรของประเทศไทย กล่าวคือ มีช่วงฤดูกาลแห้งแล้งตั้งแต่

                  เดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลความแห้งแล้งรุนแรง (Hyper-arid)
                  ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป โดยมีความแห้งแล้งรุนแรงมากที่สุดในเดือน
                  ธันวาคมมีพื้นที่ครอบคลุมในบางจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และ

                  ภาคตะวันตก โดยจะไม่พบความแห้งแล้งรุนแรงในบริเวณภาคเหนือและภาคใต้เลย ความแห้งแล้งจะเริ่ม
                  ลดลงและมีความชื้นสูงขึ้นในเดือนมีนาคมเมื่อเริ่มเข้าใกล้ฤดูฝน และความชื้นสูงมากขึ้นตั้งแต่เดือน
                  เมษายนถึงเดือนตุลาคมเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนอย่างสมบูรณ์
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130